การใช้คำสั่งพื้นฐานในงานเขียนแบบสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า

Text Box: ใบความรู้หน่วยที่ 3           
การใช้คำสั่งพื้นฐานในงานเขียนแบบสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า
(ส่วนที่ 1)
หัวข้อเรื่อง
       3.1   การกำหนดระบบพิกัดสำหรับงานเขียนแบบ
3.2   กลุ่มคำสั่งใช้ในการคำสั่งเขียนเส้น

สาระสำคัญ
       1.  การกำหนดระบบพิกัดสำหรับงานเขียนแบบ มี 3   แบบคือ
-   ระบบพิกัดค่าวัดสัมบูรณ์ (Absolute coordinate) เป็นระบบพิกัดที่วัดระยะจากจุด Origin
(X=0,Y=0)
    -   ระบบพิกัดค่าวัดลูกโซ่ (Relative Coordinate) เป็นการกำหนดพิกัดโดยวัดระยะสัมพัทธ์
 อ้างอิง กับพิกัดสุดท้าย (โดยมีพิกัดเป็น 0,0 ใหม่)
          -   ระบบพิกัดแบบโพลาร์ (Polar  Coordinate)  ระบบพิกัด Relative แบบ Polar เป็นการกำหนดพิกัดเป็นระยะรัศมีและมุม โดยวัดระยะสัมพัทธ์หรืออ้างอิงกับพิกัดสุดท้าย
2.   กลุ่มคำสั่งในการเขียนเส้น
     -     LINE,XLINE,RAY คือกลุ่มการเขียนคำสั่งเกี่ยวกับเส้นตรง
     -     กลุ่ม คำสั่ง SKETCH, PLINE,MLINE คือกลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับเส้นที่สามารถเขียนได้ทั้ง
                  เส้นตรงหรือส่วนโค้งหรือปรับขนาดความหนาของเส้นได้
-                   Spline  คือคำสั่งที่ใช้ในการเส้นเคอฟ์ หรือเส้นโค้งงอแบบอิสระ
-                   คำสั่ง  Revision Cloud  สร้างส่วนของเส้นให้เกาะกันเป็นกลุ่ม (คล้ายก้อนเมฆ)
จุดประสงค์การเรียนรู้   เมื่อผู้เรียน  เรียนจบหน่วยการเรียนรู้แล้ว ผู้เรียนสามารถ
1.   เขียนแบบตามใบงานการกำหนดพิกัดได้
2.   เขียนแบบตามใบงานที่กำหนดโดยใช้คำสั่ง เส้นได้
สมรรถนะ   เมื่อผู้เรียน  เรียนจบหน่วยการเรียนรู้แล้ว ผู้เรียนจะเกิดสมรรถนะในด้าน
                    ความรู้ และความเข้าใจคำสั่งพื้นฐานที่ใช้ในการเขียนแบบ
                 ทักษะในการปฏิบัติการเขียนแบบโดยใช้คำสั่งพื้นฐานในกลุ่มคำสั่งเส้น

Text Box: 3-2จุดประสงค์การเรียนรู้   เมื่อผู้เรียน  เรียนจบหน่วยการเรียนรู้แล้ว ผู้เรียนสามารถ
1.   เขียนแบบตามใบงานการกำหนดพิกัดได้
2.   เขียนแบบตามใบงานที่กำหนดโดยใช้คำสั่ง เส้นได้
สมรรถนะ   เมื่อผู้เรียน  เรียนจบหน่วยการเรียนรู้แล้ว ผู้เรียนจะเกิดสมรรถนะในด้าน
                    ความรู้ และความเข้าใจคำสั่งพื้นฐานที่ใช้ในการเขียนแบบ
                 ทักษะในการปฏิบัติการเขียนแบบโดยใช้คำสั่งพื้นฐานในกลุ่มคำสั่งเส้น
กิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
                1.  ทำแบบทดสอบก่อนเรียน /หลังเรียนหน่วยที่ 3
                2.  ศึกษาใบเนื้อหาหน่วยที่ 3
              3.  ปฏิบัติกิจกรรมตามใบงานที่ 3
              4.  ทำแบบทดสอบก่อนเรียน /หลังเรียนหน่วยที่ 3
              5.  แบบฝึกหัดหน่วยที่ 3

กิจกรรมครู
             1.  แจกแบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียนหน่วยที่ 3
             2.  นำเข้าสู่บทเรียน
             3.  บรรยายและสาธิตเนื้อหาสาระการเรียนรู้หน่วยที่ 3
             4.  แจกแบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียนหน่วยที่ 3
สื่อการเรียนการสอน
                1.  ใบความรู้หน่วยที่ 3
              2.  ใบงานที่ 3
              3.  แผ่นใสหน่วยที่ 3
              4.  CAI
              5.  โปแกรม ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเขียน แบบไฟฟ้าด้วยคอมพิวเตอร์
              6ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์



Text Box: 3-2Text Box: 3.1  ระบบพิกัดสำหรับงานเขียนแบบ


                การกำหนดพิกัดเพื่อบอกตำแหน่งหรือระยะของวัตถุ โดยโปรแกรม AutoCAD ได้แบ่งระบบพิกัดหรือโคออร์ดิเนตออกเป็นระบบ คือ
1.  ระบบพิกัด Absolute Coordinate เป็นระบบพิกัดที่วัดระยะจากจุด Origin (X=0,Y=0,Z=0)
ประกอบด้วยแกน X, Y และ Zซึ่งAutoCAD ใช้ในการบอกพิกัดหรือสร้างวัตถุ สำหรับงานเขียนแบบ
2 มิติ โดย AutoCAD จะกล่าวถึงเฉพาะระนาบ X, Y โดยมีข้อกำหนดของทิศทางและเครื่องหมายโดยรูปแบบการป้อนคือ
Text Box:                 X,Y
เมื่อ X  = ค่าพิกัดในแนวแกน X
       Y  =  ค่าพิกัดในแนวแกน Y

 




-     แกน X เป็นแกนตามแนวนอนมีทิศทางจากซ้ายมือไปทางขวามือ มีเครื่องหมายเป็น +
      -     แกน Y เป็นแกนตามแนวดิ่งจากล่างไปบน มีเครื่องหมายเป็น +
      -    จุดตัดของทั้งสองแกนเป็นจุด Origin (พิกัด X=0,Y=0) อยู่มุมล่างซ้ายมือ
ตัวอย่างที่ 1   จงเขียนภาพ ให้ได้ขนาดตามที่กำหนด









ภาพที่ 3.1   ภาพที่ได้จากการเขียนโดยกำหนดค่า ระบบพิกัด Absolute Coordinate
Text Box: 3-3วิธีทำ     พิมพ์คำสั่งที่  Command  Line :   กดEnter   และป้อนค่า ดังนี้
Text Box: Command: line                  กด Enter
Specify first point: 0,0       กด Enter
Specify next point or [Undo]: 6,0 กด Enter
Specify next point or [Undo]: 6,6  กด Enter
Specify next point or [Close/Undo]: 0,6 กด Enter
Specify next point or [Close/Undo]: 0,0  กด Enter
Specify next point or [Close/Undo]: -4,0 กด Enter
Specify next point or [Close/Undo]: -4,1 กด Enter
Specify next point or [Close/Undo]: 0,1  กด Enter
Specify next point or [Close/Undo]: 0,0  กด Enter
Specify next point or [Close/Undo]:]: กด Esc












   2.   ระบบพิกัด   Relative Coordinates   เป็นการกำหนดพิกัดโดยวัดระยะสัมพันธ์หรืออ้างอิง กับจุดสุดท้าย (โดยพิจารณาให้จุดสุดท้ายมีพิกัด 0,0 ใหม่) การกำหนดระยะทางให้มีเครื่องหมาย นำหน้าตัวเลขของระยะทางแนวแกน X และ แกน รูปแบบการป้อนมีดังนี้
Text Box:        @X,Y
เมื่อ @   คือการอ้างอิงจากจุดที่ผ่านมา
       X   คือระยะทางในแนวแกน X
       Y   คือระยะทางในแนวแกน Y










Text Box: 3-4      ตัวอย่างที่ 2   จงเขียนภาพที่  3.2  ให้ได้ขนาดตามที่กำหนด
 
















วิธีทำ     พิมพ์คำสั่งที่  Command  Line :   กดEnter และป้อนค่าดังนี้
Text Box: Command: line  กด Enter  
Specify first point: 1,1กด Enter
Specify next point or [Undo]: @7,0 กด Enter (ไปตามแกน X =7,Y=0)
Specify next point or [Undo]: @0,3 กด Enter   (ไปตามแกน X =0,Y=3)
Specify next point or [Close/Undo]: @-7,0กด Enter (ไปตามแกน X =-7,Y=0)
Specify next point or [Close/Undo]: @0,-3กด Enter (ไปตามแกน X =0,Y=-3)
Specify next point or [Close/Undo]:กด Enter








        3.   พิกัด Polar Coordinate    เป็นการกำหนดพิกัดเป็นระยะรัศมีและมุม โดยวัดระยะสัมพัทธ์หรืออ้างอิงกับพิกัดสุดท้าย โดยกำหนดระยะทาง ให้มีเครื่องหมาย นำหน้า เช่นเดียวกับแบบ Relative Coordinates และเครื่องหมาย คั่นระยะทางกับมุม รูปแบบการป้อนคือ
Text Box: 3-5Text Box:         @D< Q
เมื่อ @   คือการอ้างอิงจากจุดที่ผ่านมา
       D   คือระยะทางจากจุดที่ผ่านมา
       <   คือเครื่องหมายกำหนดมุม
      Q ค่ามุมหน่วยเป็นองศาจากแกน X หมุนทวนเข็มนาฬิกา  มีเครื่องหมายเป็นบวก





ตัวอย่างที่ จงเขียนภาพที่  3.4  ให้ได้ขนาดตามที่กำหนด










ภาพที่ 3.3 แสดงการป้อนระบบพิกัดแบบ Relative Coordinates
 
วิธีทำ


Text Box: Command: line กด Enter  
Specify first point: 1,1  กด Enter  
Specify next point or [Undo]: @7<0กด Enter (ระยะทาง = 7,มุม = 0 องศา)
Specify next point or [Undo]: @3<90กด Enter (ระยะทาง= 3,มุม = 90 องศา)
Specify next point or [Close/Undo]: @7<180 กด Enter (ระยะทาง= 7,มุม =180 องศา)
Specify next point or [Close/Undo]: @3<270 กด Enter(ระยะทาง= 3,มุม = 270 องศา)

Specify next point or [Close/Undo]:
 







Text Box:  3.2  กลุ่มคำสั่งการใช้คำสั่งเขียนเส้น

Text Box: 3-6
          1.  คำสั่ง LINE   คือคำสั่งที่ใช้เขียนเส้นตรง  การเขียนเส้นตรงนั้น เราจะได้เส้นตรงทีละเส้น โดย AutoCAD จะถามโคออร์ดิเนตของจุดตั้งต้น (Specify First Point:) เมื่อเราตอบไป จะมีการถามโคออร์ดิเนตของจุดปลาย (Specify Next  Point:) เมื่อกำหนดค่าให้ไป      ก็จะถามโคออร์ดิเนตของปลายเส้นต่อไปอีก ((Specify Next Point:) ต่อเนื่องกันไปจนกว่าเราจะกด <Enter>  หรือกดปุ่ม  ESC การเขียนเส้นตรงก็จะสิ้นสุดลง แต่เส้นตรงที่เขียนในคำสั่งเดียวกัน จะไม่ถือเป็นเส้นเดียวกัน
ตารางที่ 3.1   การเข้าสู่คำสั่ง Line
Toolbar
Pull-down Menu
Command  Line
Shortcut

Drawn>Line
Line หรือ L
-

 การใช้คำสั่ง Line สามารถการป้อนค่าโดยกำหนดระบบพิกัดได้ทั้ง 3 วิธี  ดังที่กล่าวมาในหัวข้อ 3.1
ตัวอย่างที่ 4  จงเขียนภาพที่  3.4  ให้ได้ขนาดตามที่กำหนด
















2.              Text Box: 3-7คำสั่ง  Construction Line 
คือคำสั่งที่ใช้เขียนเส้นแนวก่อสร้าง หรือเส้นยาวไม่มีที่สิ้นสุด  เป็นลักษณะเดียวกับคำสั่ง Line เพียวแต่จะเป็นเส้นตรงที่มีความยาวไม่สิ้นสุด (Infinity) ไม่สามารถมองเห็นจุดปลายทั้งสองด้าน
ตารางที่ 3.2   การเข้าสู่คำสั่ง Construction Line   
Toolbar
Pull-down Menu
Command  Line
Shortcut

Drawn> Construction Line   
Xline หรือ XL
-
Text Box: Command: XLINE
Specify a point or [Hor/Ver/Ang/Bisect/Offset]:


เมื่อเข้าสู่คำสั่ง Xline แล้วจะมีทางเลือกดังนี้
Hor   ตัวย่อ H  หมายถึง การเขียนเส้นร่างในแนวนอน
Ver   ตัวย่อ หมายถึง การเขียนเส้นร่างในแนวตั้ง
Ang   ตัวย่อหมายถึง การเขียนเส้นร่างที่ทำมุมกับแกน X
Bisect   ตัวย่อ หมายถึง การเขียนเส้นร่างแบ่งครึ่งจุด
offset   ตัวย่อหมายถึง การเขียนเส้นร่างคู่ขนานกับเส้นที่เราต้องการ
ก. เส้นร่างแนวนอน(Hor)
 








ข.  เส้นร่างในแนวตั้ง (Ver)
 
ค.  เส้นร่างในแนวเอียง (Ang)
 
Text Box: 3-8                                               







ง.   เส้นร่างแบ่งครึ่งจุด (Bisect)
 
จ.  เส้นร่างคู่ขนาน (Offset)
 


ภาพที่ 3. 5     แสดงภาพที่เกิดจากคำสั่ง Construction Line ในรูปแบบต่าง ๆ
 

        3.   คำสั่ง Ray   เส้นตรงที่เกิดจากคำสั่ง Ray  เป็นเส้นที่ปลายด้านหนึ่งมีความยาวเป็น Infinity โดยลากเส้นจากตำแหน่งของจุดเริ่มต้นที่กำหนดขึ้นตามต้องการ  สามารถเขียนได้หลายเส้นจากจุดเริ่มต้นเดียวกันแต่มีตำแหน่งที่เส้นตรงลากผ่านตำแหน่งกัน
ตารางที่  3.3  การเข้าสู่คำสั่ง Ray
Toolbar
Pull-down Menu
Command  Line
Shortcut

Drawn> Ray
Ray
-
   
  1. คำสั่ง Sketch  เป็นคำสั่งที่ใช้ในการลากเส้น Line หรือ Polyline ไปในลักษณะฟรีแฮนด์  แต่
การป้อนข้อมูลจะแตกต่างคำสั่งอื่นๆ โดยจะมีการเขียนเส้นในขณะที่ตัวชี้เคลื่อนไหว  แทนที่จะไปกำหนดจุดหรือตำแหน่งในแบบคำสั่งอื่นๆ รูปแบการใช้คำสั่งมีดังนี้
ตารางที่ 3.4   การเข้าสู่คำสั่ง Sketch
Toolbar
Pull-down Menu
Command  Line
Shortcut
-
-
Sketch
-
Text Box: 3-9
Text Box: Command : Sketch :
Record  increment  <0.1000>  :
Sketch .  Pen exit Quit Record Erase Connect.
 



               

เมื่อเข้าสู่คำสั่ง Sketch มีทางเลือกดังนี้
                Record increment  นี้หมายถึง การกำหนดระยะทางที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะใช้หน่วยในการกำหนดระยะของเส้นที่ทำการบันทึก เช่นถ้าเรากำหนดไว้ 1 หน่วยถ้าเราลากตัวชี้ไม่ถึง Limits เส้นทันที
P
 
P
 
                Pen   การเขียนรูปจากปากกา  จะลากได้ต่อเมื่อมีการกดปากกาลงไปเท่านั้น วิธีการกดปากกาลงไปก็คือ การกดคีย์    ไม่ต้องตามด้วย <Enter>              แล้วก็ลากตัวชี้ไปในทิศทางที่ต้องการลากเส้น  ซึ่งเส้นจะถูกลากตามและยกปากกาขึ้นมากดคีย์                       อีกครั้งส่วนข้อมูลจะยังไม่บันทึกจนกว่าจะออกจากคำสั่ง
Spacebar
 
                Exist     จะเป็นการบันทึกเส้นที่เกิดจากการลากของปากกาทั้งหมดลงในรูปอย่างถาวรและกลับออกจาก Command วิธีการใช้คำสั่งนี้จะใช้การกด <Enter>  หรือ
Q
 
                Quit   จะใช้ยกเลิกคำสั่งที่เขียนขึ้นมาชั่วคราว จากปากกาที่เขียนลงไปทั้งหมด และออกจากคำสั่ง Sketch วิธีใช้งานคือ การกดคีย์
                Record    จะเป็นการบันทึกเส้นที่เขียนขึ้นมาชั่วคราว  จากปากกาลงอย่างถาวร แต่จะยังไม่ออกจากคำสั่ง
E
 
                Erase   จะเป็นการลบเฉพาะเส้นที่ยังไม่มีการบันทึกลงไปอย่างถาวรเท่านั้น  เมื่อใช้คำสั่งนี้ โปรแกรมจะถามว่า     Erase Select end of delete    ซึ่งเป็นการให้เราเลือกตัวชี้ไปยังจุดที่ต้องการลบ  จากจุดสุดท้ายไปถึงจุดนั้น  การใช้คำสั่งนี้โดยการกดคีย์                     
C
 
                Connect   จะเป็นคำสั่งในการต่อเส้น SKETCH จากจุดปลายเส้นสุดท้ายหลังจากที่เรายกปากกาขึ้น  ซึ่งจะเป็นการให้เราเลื่อนตัวชี้เมาส์  ไปใกล้จุดสุดท้ายที่เรายกปากกาขึ้นเพื่อทำการเขียนต่อไปอีก วิธีการใช้งานก็คือการกดคีย์                 จะปรากฏข้อความดังนี้
Text Box: Connect  aborted .
Sketch . Pen eXit  Quit Record Erase Connect
Text Box: ภาพที่ 3.6 ภาพที่ได้จาการใช้คำสั่ง Sketch
 





Text Box: 3-10












        5.    คำสั่ง  Polyline     Polyline หรือ Pline เป็นเส้นที่แตกต่างจากเส้น Line อยู่หลายอย่าง คือ Pline ที่เขียนต่อเนื่องกันหลายส่วนด้วยคำสั่งเดียวกันนั้นจะถือว่าเป็นเส้น ๆ เดียวกัน เราอาจให้ความกว้างของเส้น Pline ได้ซึ่งความกว้างของต้นเส้นกับปลายเส้นอาจจะต่างกัน Pline อาจเป็นเส้นโค้งได้
                ตารางที่  3.5  การเข้าสู่คำสั่ง Polyline
Toolbar
Pull-down Menu
Command  Line
Shortcut

Drawn> Polyline
หรือ Polyline
-
เมื่อเข้าไปในคำสั่งแล้วจะได้รูปแบบดังนี้
Text Box: Command : Pline
Specify  Start  point :   กำหนดจุดเริ่มต้น
 





เมื่อเรากำหนดจุดเรียบร้อยแล้ว จะได้ทางเลือกมากมายดังนี้
 






·       Text Box: 3-11Arc คือเขียนเส้นโค้ง
·        Close คือปิดวงรอบ (ต่อปลายเส้นสุดท้ายเข้ากับต้นเส้นแรก)
·       Half width คือ คือครึ่งหนึ่งของความกว้างของเส้น
·        Length คือความยาวของเส้น
·       Undo คือการยกเลิกการเขียนเส้น
·       Width คือความกว้างของเส้น         
ตัวอย่างที่  3. 5       การใช้คำสั่ง Pline
                                                                 
                                                                                                              







                                   


         



ภาพที่ 3.7 ภาพที่ได้จาการใช้คำสั่ง  Pline
 
Text Box: 3-12      6.  คำสั่ง Multiline 
                Multiline  หรือ Mline เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเขียนเส้นคู่ขนานได้ตั้งแต่ 2-16  เส้น
                ตารางที่  3.6  การเข้าสู่คำสั่ง Multiline 
Toolbar
Pull-down Menu
Command  Line
Shortcut

Drawn> Multiline
Ml  หรือ Mline
-

 เมื่อใช้คำสั่ง MLINE (โดยการพิมพ์คำสั่งนี้หรือใช้เมนู Draw/Multilineหรือเลือกจาก Tool bar แล้ว
           AutoCAD จะให้สไตล์แบบมาตรฐาน (Standard Style) โดยจะให้เขียนเส้นตรงเพียงสองเส้นขนานกัน และมีระยะห่างจากกัน 1 หน่วย เราสามารถสร้างสไตล์ขึ้นใหม่ได้ โดยกำหนดให้มีเส้นขนานได้ถึง 16 เส้น


                                                                Top                                               …………..แนวเขียน            


                                                                Zero     …………………………………..แนวเขียน


                                                                              ………………………
                                                         Bottom                                                                  แนวเขียน
                                AutoCAD จะบอกว่าเส้นขนานเส้นบนจะอยู่ในแนวที่เราเขียน (Justification = Top) สเกลจะเท่ากับ 1 หน่วยแบบ และสไตล์ที่ใช้คือ Standard ซึ่งทุกอย่างนี้เราเปลี่ยนแปลงได้ เรามาดู Justification ก่อน          Justification มีอยู่ 3 แบบคือ Top, Zero และ Bottom
                 Top       เส้นขนานเส้นบนจะอยู่ตรงกับแนวที่เราเขียน
                Zero       เส้นกึ่งกลางระหว่างเส้นขนานจะอยู่ตรงกับแนวที่เราเขียน
                Bottom                 เส้นขนานเส้นล่างจะอยู่ตรงกับแนวที่เรา     
Scale –  สเกลคือระยะห่างระหว่างเส้นขนานสองเส้น ที่ให้มาในตอนแรกจะเท่ากับ 1 หน่วยดังกล่าวมาแล้ว แต่เราสามารถปรับสเกลเป็นเท่าไรตามความต้องการของเราได้
Text Box: 3-13Style – สไตล์ที่ให้มาขณะนี้คือ Standard และมีแบบเดียว เราจะยังเลือกไม่ได้ในตอนนี้จนกว่าเราจะสร้างสไตล์ใหม่รูปแบบการป้อนมีดังนี้
ตัวอย่างที่ 3.6     การสร้างรูปสี่เหลี่ยม โดยการใช้คำสั่ง Mline















ภาพที่ 3.8  ภาพสี่เหลี่ยมที่ได้จาการใช้คำสั่ง  Multiline

 

      7.   คำสั่ง Spline     เส้นโค้งสไปลน์ (Spline Curve) คือเส้นโค้งที่ปรับเรียบผ่านจุดหลาย ๆ จุดที่เป็นชุด AutoCAD ใช้เส้นโค้งชนิดที่เรียกว่า NURBS (Nonuniform Rational B – spline Curve) เส้นโค้ง
สไปลน์มีประโยชน์ในการเขียนแผนที่ เช่นการเขียนเส้นชั้นความสูง (Contour Line) เป็นต้น


Text Box: 3-14ตารางที่  3.7 การเข้าสู่คำสั่ง Spline       
Toolbar
Pull-down Menu
Command  Line
Shortcut
Drawn> Spline     
Spline   หรือ Spl
-

     การเขียนเส้นโค้งแบบต่อเนื่องด้วยคำสั่ง เมื่อใช้คำสั่ง SPLINE สามารถกำหนดรูปแบบในการเขียนด้วยขั้นตอนที่ไม่มีความสลับซับซ้อนคือ
·       Close : ภายหลังจากเขียนเส้นโค้งผ่านตำแหน่งต่าง ๆ แล้ว เมื่อต้อการเขียนเส้นสุดท้ายให้เป็นเส้นปิด
·       Fit  Tolerance : เมื่อต้องกาารเขียนเส้นโค้งต่อเนื่องในบางตำแหน่งอาจทำให้เส้นโค้งไม่ราบเรียบนัก  สามารถกำหนดระยะที่ช่วยให้เส้นโค้งที่เขียนอยู่นั้นมีความราบเรียบขึ้น

Text Box: Command: SPLINE หรือเรียกจาก Tool bar                                                                 

ภาพที่ 3.9 แสดงภาพที่ได้จากคำสั่ง SPLINE
 














8.              Text Box: 3-15คำสั่ง  Revision Cloud  สร้างส่วนของเส้นให้เกาะกันเป็นกลุ่ม (คล้ายก้อนเมฆ)
คำสั่ง  Revision Cloud  เป็นคำสั่งใหม่ที่เพิ่มเข้ามาตั้งแต่เวอร์ชั่น 2005  โดยที่โปรแกรมระบุ
คุณสมบัติไว้ว่าต้องการให้คำสั่งนี้วงล้อมรอบวัตถุที่สำคัญในแบบ
ตารางที่  3.8 การเข้าสู่คำสั่ง  Revision Cloud         
Toolbar
Pull-down Menu
Command  Line
Shortcut
Drawn> Revision Cloud     
Revcloud  
-

ตัวอย่างที่ 3.7 ให้สร้างส่วนของเส้นโค้งแบบไม่กำหนดค่าดังภาพที่
ภาพที่ 3.10 แสดงภาพที่ได้จากคำสั่ง Revision Cloud    LINE
 









วิธีทำ  ลำดับการสร้างตามภาพที่ 3.11
ภาพที่ 3.11 แสดงขั้นตอนการสร้างภาพจากคำสั่ง Revision Cloud    LINE
 











Text Box: 3-17ตัวอย่างที่ 3.8 ให้สร้างส่วนของเส้นโค้งแบบแบบเปลี่ยนวัตุ ดังภาพที่ 3.12

ภาพที่ 3.12 แสดงก่อน-หลังการใช้คำสั่ง Revision Cloud  เพื่อเปลี่ยนวัตถุ
 












วิธีทำ  ลำดับการสร้างตามภาพที่ 3.13
ภาพที่ 3.13 แสดงขั้นตอนการใช้คำสั่ง Revision Cloud  เพื่อเปลี่ยนวัตถุ
 














Text Box: 3-18ตัวอย่างที่ 3.8 ให้สร้างส่วนของเส้นโค้งแบบแบบลายเส้นปากกาหัวตัด  ดังภาพที่ 3.14
ภาพที่ 3.14    แสดงการใช้คำสั่ง Revision Cloud  เขียนส่วนของเส้นโค้งแบบลายเส้นปากกาหัวตัด
 










วิธีทำ  ลำดับการสร้างตามภาพที่ 3.15

ภาพที่ 3.15    แสดงการขั้นตอนการใช้คำสั่ง Revision Cloud  เขียนส่วน
                       ของเส้นโค้งแบบลายเส้นปากกาหัวตัด
 
















Text Box: 3-199.  คำสั่ง Table 
      คำสั่ง Table  ใช้สำหรับสร้างตารางงาน เป็นคำสั่งที่มีตั้งแต่เวอร์ชั่น 2005
ตารางที่  3.9  การเข้าสู่คำสั่ง  Table          
Toolbar
Pull-down Menu
Command  Line
Shortcut
Drawn> Table
Table
-
ขั้นตอนการใช้คำสั่ง Table



















Text Box: 3-20
ภาพที่ 3.16    แสดงการขั้นตอนการใช้คำสั่ง  Table
 

















1.    คลิกที่ ไอคอน ตารางหรือ ไปที่ Drawn>Table
2.             จะได้ไดอะล็อกบ็อกซ์  Insert  Table
3.             ที่ช่อง Columns  กำหนดจำนวนแถวในแนวตั้ง
4.             ที่ช่อง Columns  Width ความกว้างของแถวในแนวตั้ง
5.             ที่ช่อง  Data Rows   กำหนดจำนวนแถวในแนวนอน
6.             ที่ช่อง Row Height  กำหนดจำนวนความสูงของแถวในแนวนอน
7.             คลิกเมาส์ที่ OK
8.             จะเกิดรูปตารางที่หน้าจอ ให้คลิกเพื่อวางตารง
9.             จะเกิด Text  Formatting  เพื่อให้พิมพ์ข้อความที่ต้องการลงไป
10.      กด <Enter> เมื่อพิมพ์ข้อความต่อไป หรือใช้แป้น Arrow (ลูกศร) ที่คีย์บอร์ดในการเลือก
      ช่องตารางได้
Text Box: แบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน
หน่วยที่ 3  การใช้คำสั่งพื้นฐานในงานเขียนแบบ สัญลักษณ์ทางไฟฟ้า(ส่วนที่ 1)

Text Box: 3-21






ชื่อ-สกุล...........................................................
คะแนน
ระดับชั้น..............................................................
กลุ่ม....................เลขที่.........................................
ก่อนเรียน
หลังเรียน


จงทำเครื่องหมาย ทับคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.   เป็นระบบพิกัดที่วัดระยะจากจุด Origin (X = 0 ,Y = 0 ) เป็นระบบพิกัดแบบใด
      ก.   เป็นระบบพิกัดค่าวัดลูกโซ่                                                ข.    เป็นระบบพิกัดค่าวัดแบบโพลา
      ค.   เป็นระบบพิกัดค่าวัดแบบผสม                       ง.   เป็นระบบพิกัดค่าวัดสัมบูรณ์ 
2.   เป็นระบบพิกัดที่วัดระยะรัศมีและมุม โดยวัดระยะสัมพัทธ์หรืออ้างอิงกับพิกัดสุดท้าย เป็นระบบพิกัด
       แบบใด
      ก.   เป็นระบบพิกัดค่าวัดลูกโซ่                                                ข.    เป็นระบบพิกัดค่าวัดแบบโพลา
      ค.   เป็นระบบพิกัดค่าวัดแบบผสม                       ง.   เป็นระบบพิกัดค่าวัดสัมบูรณ์ 
3.    @X,Y  สุดท้าย เป็นระบบพิกัดแบบใด
      ก.   เป็นระบบพิกัดค่าวัดลูกโซ่                                                ข.    เป็นระบบพิกัดค่าวัดแบบโพลา
      ค.   เป็นระบบพิกัดค่าวัดแบบผสม                       ง.   เป็นระบบพิกัดค่าวัดสัมบูรณ์ 
4.  ถ้าต้องการจะเขียนเส้นแบบฟรีแฮนด์โดยไม่มีรูปแบบควรจะใช้คำสั่งอะไร
  ก.   Pline                                                                    ข.     Ray
  ค.   Sketch                                                             ง.     Line
5.   สามารถเขียนกำหนดความหนาของเส้นได้  และสามารถเขียนได้ทั้งเส้นตรง และส่วนโค้ง คือคำสั่ง
      อะไร
  .   Pline                                                                    ข.     Ray
  ค.   Sketch                                                             ง.     Line
6.   คำสั่งที่ใช้ในการเขียนแผนที่ เพราะสามารถโค้งงอได้อย่างอิสระ
  ก.   Pline                                                                    ข.     Ray
Text Box: 3-22  ค.   Sketch                                                             ง.     Spline
7.   เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างเส้นโค้งให้เกาะกันเป็นกลุ่มคล้ายก้อนเมฆ
  ก.   SPline                                                                 ข.     Revision Cloud
  ค.   Sketch                                                             ง.     Multiline
8.   เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างเขียนเส้นคู่ขนานได้ตั้งแต่ 2-16 เส้นเมฆ
  ก.   SPline                                                                 ข.     Revision Cloud
  ค.   Sketch                                                             ง.     Multi Line
9.   จากภาพที่ เป็นการใช้คำสั่ง Mline   ถ้าต้องการกำหนดความยาวของเส้น จะเลือกคำสั่งย่ออะไร
 




 ก.   Width                                                                   ข.     Half width
         ค.   Length                                                                               ง.      Close
10.   จากรูปในข้อ 9   ถ้าต้องการจะกำหนดความหนาของเส้นจะเลือกคำสั่งย่ออะไร
 ก.   Width                                                                   ข.     Half width
         ค.   Length                                                                               ง.      Close

************************************










Text Box: แบบฝึกหัดหน่วยที่ 3
หน่วยที่ 3  การใช้คำสั่งพื้นฐานในงานเขียน แบบสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า(ส่วนที่1)
Text Box: 3-23





ชื่อ-สกุล.....................................................................
คะแนน
ระดับชั้น...................................................................
กลุ่ม....................เลขที่.............................................

จงเติมคำลงในช่องว่างให้ได้ใจความสมบูรณ์ (ข้อละ 1 คะแนน)
1.             ระบบพิกัดแบบ Absolute  Coordinateหมายถึง...............................................................................
.........................................................................................................................................................
รูปแบบการป้อน...............................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
2.             ระบบพิกัดแบบ Relative  Coordinateหมายถึง...............................................................................
.........................................................................................................................................................
รูปแบบการป้อน...............................................................................................................................
.........................................................................................................................................................

3.             ระบบพิกัดแบบ Polar  Coordinateหมายถึง...............................................................................
.........................................................................................................................................................
รูปแบบการป้อน...............................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
4.             คำสั่ง  Construct  Line....................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
การใช้งาน.......................................................................................................................................
5.             คำสั่ง  Ray…………......................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
การใช้งาน.......................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
Text Box: 3-24

6.             คำสั่ง  Multiline……....................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
การใช้งาน.......................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
7.             คำสั่ง  Spline..................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
การใช้งาน.......................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
8.             คำสั่ง  Sketch..................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
การใช้งาน.......................................................................................................................................
9.             คำสั่ง  Revision Cloud..................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
การใช้งาน.......................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
10.      คำสั่ง  Table   ………......................................................................................................................
.........................................................................................................................................................
การใช้งาน.......................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................

**********************************









ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การใช้คำสั่งพื้นฐานในงานเขียนแบบสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า ( ส่วนที่ 2 )

วิชาเขียนแบบไฟฟ้าด้วยคอมพิวเตอร์ (3104-2005) บทที่2