วิชาเขียนแบบไฟฟ้าด้วยคอมพิวเตอร์ (3104-2005) บทที่2


วิชาเขียนแบบไฟฟ้าด้วยคอมพิวเตอร์ (3104-2005) บทที่2


เทคนิคการใช้งานเบื้องต้นของโปรแกรม AutoCAD  
ในปัจจุบันวิวัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์ได้รุดหน้าอย่างรวดเร็ว ประกอบกับคอมพิวเตอร์มีราคาถูก จึงมีผู้หันมานิยมใช้คอมพิวเตอร์กันมากขึ้นโดยเฉพาะงานด้านการออกแบบ-เขียนแบบโปรแกรม AutoCAD (Computer-Aided-Design หรือ Computer-Aided-Drafting) เป็นซอพแวร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากเนื่องจากเป็นซอฟแวร์ที่สามารถใช้งานได้ทั่วๆไป
จุดเด่นของ โปรแกรม AutoCAD มีมากมายสามารถสรุปได้ดังนี้
-   ใช้งานง่าย มีความละเอียดแม่นยำในการสร้างชิ้นงาน สามารถกำหนดทศนิยมได้ถึง 8  ตำแหน่ง
-     มีเครื่องมือช่วยในการเขียนแบบมกมาย เช่น Tool  bar ของกลุ่มคำสั่งต่างๆ กลุ่ม Osnap
ช่วยให้ทำงานได้รวดเร็ว   โหมดตัวช่วยที่ Status Bar ที่สามารถ ปิด-เปิด การใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
-                   ในส่วนของกการเขียนภาพ  สามารถเขียนแบบแปลน 2 มิติ  และ 3 มิติ การเขียน
Diagram   การเขียนภาพ Isometric ฯลฯ
-                   การนำไฟล์เข้าจากโปแกรมอื่น
-                   การใช้งานร่วมกับโปรแกรมอื่น
-                   การคำนวณหาพื้นที่   การบวกลบพื้นที่
-                   การกำหนดชั้นของเลเยอร์ใช้งาน
       ฯลฯ
งานเขียนแบบไฟฟ้าส่วนมากจะเป็นงานเขียนแบบ  2   มิติ โปรแกรม AutoCAD จึงมีความเหมาะสม ยิ่งในงานเขียนแบบไฟฟ้า   เพราะสามารถกำหนดชั้น (เลเยอร์)  ของการใช้ เช่น กำหนดการปิด-เปิดงาน   กำหนดขอบข่ายของการพิมพ์งาน   การแก้ไขชิ้นงาน และอื่นๆ  อีกมากมาย
2.1การเรียกใช้โปรแกรม AutoCAD

เมื่อติดตั้งโปรแกรม AutoCAD  เรียบร้อยแล้ว จะได้ AutoCAD   Shortcut icon บน Windows Desktop และ AutoCAD   Group ที่ Taskbar บนปุ่ม
ขั้นตอนการเรียกใช้โปรแกรมAutoCAD    มีดังนี้
1.       คลิกปุ่ม Start>AutoCAD 2008>

หรือดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน AutoCAD 2008   หรือ  AutoCAD  ตามเวอร์ดิชั่นต่าง ๆ บนWindow Desktop 
2.   คลิกเลือก No. Don’t Show  me  this  again    เมื่อเรียกโปรแกรม AutoCAD ใหม่หน้าต่างนี้จะไม่
ปรากฏ   แต่สามารถใช้งานได้เลย
                3.   คลิกปุ่ม  OK  จะเข้าสู่โปรแกรม AutoCAD 
               4.   จะเข้าสู่พื้นที่ทำงานแบบ 2D  Drafting &  Annotation ให้เราเปลี่ยนพื้นที่ทำงานให้เป็นแบบ AutoCAD Classic  เพื่อให้แสดงเครื่องมือในการเขียนแบบด้วย  โดยเลือกจากพื้นที่ทำงานที่ Tool  bar  Workspaces 
5.             กล่องข้อความ: 2-7จะปรากฏพื้นที่ทำงานแบบ AutoCAD Classic  ขึ้นมา  ให้เราสามารถ เปิด ปิด
Tool  bar  ที่ต้องการใช้งาน  ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับชนิดของงานที่ต้องใช้
 ·       ไอคอน Open a Drawing สำหรับเปิดไฟล์งานเขียนแบบที่มีอยู่แล้ว
·       ไอคอน Start from Scratch เมื่อต้องการเริ่มต้นเขียนแบบใหม่ พร้อมระบบหน่วยที่ใช้ในการเขียนแบบ เช่นเลือกหน่วยระบบ Metric ไฟล์ต้นแบบ(Template Drawing) ที่ได้จะเป็น acad.dwt มีขอบเขตในการเขียนแบบเท่ากับ 420x497 มมและถ้าเลือกหน่วยระบบ English ไฟล์ต้นแบบที่ได้คือacad.dwt มีขอบเขตในการเขียนแบบเท่ากับ 12x9 นิ้ว
·       ไอคอน Use a Template สำหรับงานเขียนแบบใหม่ที่ต้องการเลือกใช้ไฟล์ต้นแบบที่ต้องการเอง
·       ไอคอน Use a Wizard เป็นการเปิดไฟล์เขียนแบบใหม่ โดยการเลือก Quick Setup wizard หรือ Advanced Setup wizard
2.2  ส่วนประกอบของโปรแกรม AutoCAD
เมื่อเข้าสู่โปแกรม   AutoCAD  แล้ว  จะพบหน้าจอที่มีประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สำคัญดังนี้

หมายเลข (1)  Menu Bar: เป็นหมวดชุดคำสั่งหลัก  ที่เมนูบาร์จะประกอบด้วยคำสั่งย่อยๆ แบบ Pop-up Menu หรือ Pull down Menu คำสั่งต่างๆ บน Pull down Menu มีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1.        คำสั่งแบบ Activate ได้แก่ คำสั่งที่โปรแกรมปฏิบัติงานทันทีเมื่อคลิกเลือก
2.        คำสั่งแบบ Cascading Menu ได้แก่คำสั่งที่มีสัญลักษณ์4อยู่ท้ายคำสั่ง ภายในคำสั่งจะประกอบด้วยคำสั่งย่อยๆ อีกตามภาพที่  2.4
3.        คำสั่งที่มีสัญลักษณ์อยู่ท้ายคำสั่ง เมื่อถูกเรียกใช้จะได้ไดอะล็อกบ๊อกซ์ ของคำสั่งนั้นๆ เพื่อใช้ควบคุมหรือกำหนดเงื่อนไขต่างๆ สำหรับโปรแกรม AutoCAD
หมายเลข (2Toolbars:  เป็นหมวดคำสั่งที่แสดงรายการย่อย  และทางเลือกทางเลือกย่อยของคำสั่ง  ประกอบด้วยไอคอนของกลุ่มคำสั่งต่างๆ มากมาย เมื่อวางเคอร์เซอร์บนไอคอนจะปรากฏคำอธิบายหรือ ToolTip ที่ใต้เคอร์เซอร์  ตัวอย่าง Tool   bar  ที่ใช้งานบ่อยเช่น
·    Standard Toolbar     ประกอบด้วยเครื่องมือในการจัดเก็บเอกสาร เช่น เปิดไฟล์ ใหม่ 
เปิด-ปิดไฟล์ การบันทึกไฟล์   การพิมพ์งาน การตัด  การ Copy การเรียกคำสั่งย้อนกลับ   การเลื่อนภาพ  การย่อ-ขยาย การกำหนดคุณสมบัติ  เครื่องมือคำนวณ หรือการข้อความช่วยแหลือ และอื่น ๆ·   
กล่องข้อความ: 2-8   Properties Toolbar   ใช้ในการกำหนดสี   กำหนดเส้น ชนิดของเส้น  และกำหนด
ความหนาของเส้น ซึ่งรายละเอียดจะขอกล่าวในบทต่อไป
·       Drawn  Toolbar  ประกอบด้วยเครื่องมือพื้นฐานในการขึ้นรูป เช่น  เส้นตรง
รูปหลายเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม   ส่วนโค้ง วงกลม วงรี  บล็อก  การสร้างลวดลาย  การสร้างตาราง และการเขียนตัวอักษร
·       Modify   Toolbar  ประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้แก้ไข เช่น การลบ  การคัดลอก
การคัดลอกแบบภาพกลับข้าง การทำเส้นขนาน  การจัดวางเรียงแถว   การเคลื่อนย้าย การหมุนภาพ  การย่อขยาย  การยืด  การตัด-ต่อ ชิ้นงาน  การตัดมุม    มนมุม และ แยกส่วนชิ้นงาน เป็นต้น 
·       Dimension   Toolbar  ประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้บอกขนาดต่าง ๆ เช่น บอกขนาดเส้น 
ระยะรัศมี และเส้นผ่าศูนย์กลาง  ขนาดมุมและอื่นๆอีกมากมาย
·       Layer   Toolbar  ประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการแบ่งวัตถุออกเป็น เลเยอร์ และยัง
สามารถควบคุมเลเยอร์ทำการได้ด้วย
·       Workspaces   Toolbar  ใช้กำหนดพื้นที่ในการเขียนแบบ จะประกอบด้วย 2 Dและ 3 D
หมายเลข  (3)  Graphic Area: เป็นบริเวณหน้าจอที่ใช้สำหรับเขียนภาพและแสดง งานเขียนแบบ   หรือกราฟิกต่างๆ ที่มุมล่างซ้ายของ Drawing Area มีเครื่องหมายของแกน X,Y และอักษร W เราเรียกว่าไอคอน UCS (World Coordinate System) ซึ่งแสดงถึงทิศทางและตำแหน่งของจุดพิกัดตามแกน X,Y และ Z ตำแหน่งพิกัดของไอคอน UCS จะอยู่ประจำที่มุมล่างซ้ายเสมอ โดยมีพิกัดเป็น X = O, Y = O และ Z = O ส่วนมุมบนขวาจะมีพิกัดแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับขอบเขตหรือขนาดงานเขียนแบบ และผู้เขียนแบบสามารถกำหนดเองได้เคอร์เซอร์ที่ปรากฏบนบริเวณเขียนแบบ
                หมายเลข  (4)   Model Tab และ Layout Tabs: เป็น Tab สำหรับปรับเปลี่ยน Drawing Areaระหว่าง Model Space (พื้นที่เขียนแบบ) กับ Paper Space (Layout) โดยปกติเราจะเขียนแบบและออกแบบบน  Model Space และสร้างแบบสำหรับพิมพ์งานเขียนแบบ (Layout) บน Paper Space
หมายเลข  (5)   Command Line : เป็นบริเวณที่ AutoCAD แสดงคำสั่งหรือค่าพิกัดที่เราป้อน หรือข้อความต่างๆที่ AutoCAD โต้ตอบกับเราหรือได้ปฏิบัติการไปแล้ว
                หมายเลข  (6)   Status Bar: บริเวณแถบงานหรือ Status Bar จะประกอบด้วยค่าพิกัดหรือตำแหน่งของ Crosshairs และปุ่มของโหมด (Mode) ต่างๆ
หมายเลข  (7)  Cross hair/Cursor   Cross hair เป็น Cursor   ที่ใช้แสดงตำแหน่งบน Graphic Area เคลื่อนที่ตามการเคลื่อนที่ของเมาส์  เปรียบได้กับปลายปากกาเขียนแบบที่เขียนตามคำสั่ง  และสามารถปรับขนาดได้
                 หมายเลข  (8 ) UCS  icon : ปกติจะอยู่มุมซ้ายด้านล่าง  จะบอกถึงทิศทางของแกน X และแนวแกน คือระบบโคออร์ดิเนตใช้งานปัจจุบัน
2.การเรียกใช้คำสั่ง 
โปรดสมัครเพื่อติดตามblogนี้ หรือคลิกแถบ ท่านจะได้เห็นเนื้อหาทั้งหมด 






ความคิดเห็น

  1. จริงมีครบ11บทพร้อมแบบฝึกหัดและcaiสอนโปรดสมัครเพื่อติดตามblogผมจะเอามาลงเรื่อยๆครับ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การใช้คำสั่งพื้นฐานในงานเขียนแบบสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า

การใช้คำสั่งพื้นฐานในงานเขียนแบบสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า ( ส่วนที่ 2 )