การใช้คำสั่งพื้นฐานในงานเขียนแบบสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า ( ส่วนที่ 2 )

Text Box: หน่วยที่ 4 


การใช้คำสั่งพื้นฐานในงานเขียนแบบสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า ( ส่วนที่ 2 )

หัวข้อเรื่อง
4.1  กลุ่มคำสั่งการเขียนวงกลม
4.2  คำสั่งเขียนวงรี
4.3  กลุ่มคำสั่งการเขียนรูปหลายเหลี่ยม
4.3  กลุ่มคำสั่งการกำหนดจุด
4.4  คำสั่ง  Hatch
4.5  กลุ่มคำสั่งเสริมในการเขียนภาพ

สาระสำคัญ
1.   กลุ่มคำสั่ง ARC,CIRCLE,DONUT  คือกลุ่มคำสั่งที่ใช้เขียนส่วนโค้ง  วงกลมและวงแหวน
2.   กลุ่มคำสั่ง ELLIPSE,RECTANGEN คือกลุ่มคำสั่งที่ใช้เขียนวงรี และรูปสี่เหลี่ยม
       3.   คำสั่ง Point  เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดจุด
4.   คำสั่ง  Hatch ใช้สำหรับเขียนลวดลาย
5.   กลุ่มคำสั่งเสริมในการเขียนภาพ เช่น
     -    คำสั่ง Zoom ใช้ในการย่อหรือขยายภาพ
            -   กลุ่มคำสั่งการลบวัตถุ เช่น   คำสั่ง Erase เป็นคำสั่งที่ใช้ในการลบ ส่วน Undo คือคำสั่งที่ใช้ 
                ในการเรียกคำสั่งเดิมคืนมา
            -   คำสั่ง Text   ใช้สำหรับการเขียนตัวอักษร
จุดประสงค์การเรียนรู้   เมื่อผู้เรียน  เรียนจบหน่วยการเรียนรู้แล้ว ผู้เรียนสามารถ
        1.    สามารถเขียนแบบตามใบงานที่กำหนดโดยใช้คำสั่ง กลุ่ม วงกลมได้
        2.   ใช้คำสั่งการเขียนวงรีและรูปหลายเหลี่ยมในงานเขียนแบบได้
3.   สามารถใช้กลุ่มคำสั่ง Point กำหนดจุดในแบบ และสามารถเลือกแบบต่างของจุดได้
4.    ประยุกต์ใช้คำสั่งที่อยู่ในกลุ่มคำสั่ง Point ประยุกต์ใช้ในการเขียนแบบได้
4.   ประยุกต์การใช้คำสั่ง Zoom ในงานเขียนแบบได้
5.   สามารถประยุกต์ใช้คำสั่ง  Hatch ประยุกต์ใช้ในงานเขียนแบบได้

Text Box: 4-2
สมรรถนะ   เมื่อผู้เรียน  เรียนจบหน่วยการเรียนรู้แล้ว ผู้เรียนจะเกิดสมรรถนะในด้าน
                    ความรู้ และความเข้าใจคำสั่งพื้นฐานที่ใช้ในการเขียนแบบ
                 ทักษะในการปฏิบัติการเขียนแบบโดยใช้คำสั่งพื้นฐาน
กิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
                1.  ทำแบบทดสอบก่อนเรียน /หลังเรียนหน่วยที่4
                2.  ศึกษาใบเนื้อหาหน่วยที่ 4
              3.  ปฏิบัติกิจกรรมตามใบงานที่ 4
              4.  ทำแบบทดสอบก่อนเรียน /หลังเรียนหน่วยที่ 4
              5.  แบบฝึกหัดหน่วยที่ 4

กิจกรรมครู
             1.   แจกแบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียนหน่วยที่ 4
             2.   นำเข้าสู่บทเรียน
             3.   บรรยายและสาธิตเนื้อหาสาระการเรียนรู้หน่วยที่ 4
             4.   แจกแบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียนหน่วยที่ 4
สื่อการเรียนการสอน
                1.  ใบความรู้หน่วยที่ 4
              2.  ใบงานที่ 4
              3.  แผ่นใสหน่วยที่ 4
              4.  CAI
              5.  โปแกรม ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเขียน แบบไฟฟ้าด้วยคอมพิวเตอร์
              6ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์









Text Box: 4-3Text Box: 4.1  กลุ่มคำสั่งการเขียนวงกลม

        
       1.    คำสั่ง  ARC  คือคำสั่งที่ใช้ในการเขียนส่วนโค้ง     ส่วนโค้งคือส่วนหนึ่งของเส้น
รอบวงของวงกลม ภาพที่ 4.1  แสดงส่วนต่าง ๆ ของส่วนโค้ง
                 การเขียนส่วนโค้งมีอยู่หลายวิธีซึ่งขึ้นอยู่กับการกำหนดจุดที่จะให้ส่วนโค้งนั้นผ่าน ที่สำคัญที่สุดคือให้ส่วนโค้งผ่านจุด 3 จุด การกำหนดจุดผ่านและองค์ประกอบอื่น ๆ มีดังนี้
ภาพที่ 4.1 แสดงรายละเอียดของส่วนโค้งวงกลม
 
 













ตารางที่ 4.1   การเข้าสู่คำสั่งArc       
Toolbar
Pull-down Menu
Command  Line
Shortcut
Drawn>Arc    
Arc   หรือA
-

         สำหรับรายละเอียดของการกำหนดจุดเพื่อใช้ในการสร้างเส้นโค้งด้วยคำสั่ง Arc มีดังนี้
·       *    3 point       (กำหนด จุด 3 จุด   ) เป็นการเขียนเส้นโค้งผ่านจุดต่าง ๆ 3 ตำแหน่ง




ภาพที่ 4.2 แสดงการเขียนส่วนโค้งแบบ 3  Point
 
 


·       Text Box: 4-4               Start , Center, End (จุดตั้งต้น, จุดศูนย์กลาง ,จุดปลาย) เป็นการเขียนเส้นโค้งที่เกิดจากการกำหนดจุดเริ่มต้นโค้งและจุดศูนย์กลางโค้งเพื่อสร้างเป็นระยะรัศมีในการเขียนโค้งจนถึงจุดสิ้นสุดโค้งที่กำหนด เช่น การเขียนเส้นโค้งของถนน
 





ภาพที่ 4.3 การเขียนส่วนโค้งแบบ Start,Center,End
 
 




·        *   Start ,  Center, Angle   (  จุดตั้งต้น , จุดศูนย์กลาง , มุม ) เป็นการเขียนเส้นโค้งที่เกิดจากการกำหนดจุดเริ่มต้นโค้งและจุดศูนย์กลางโค้ง  เพื่อสร้างเป็นระยะรัศมีในการเขียนส่วนโค้ง  โดยมุมที่ใช้สำหรับการเขียนเส้นโค้งจะอ้างอิงจากทิศทางที่เรากำหนดตั้งแต่เริ่มต้นเขียนแบบ                                          
ภาพที่ 4.4 การเขียนส่วนโค้งแบบ Start,center,Angle
 










·        *  Start ,  Center, Length  (จุดตั้งต้น , จุดศูนย์กลางความยาว ) เป็นการเขียนเส้นโค้งที่เกิดจากการกำหนดจุดเริ่มต้นโค้งและจุดศูนย์กลางโค้ง  แล้วกำหนดความยาวคอร์ดของวงกลมที่ต้องการจะเกิดเส้นโค้งที่เขียนจากจุดเริ่มต้นโค้งถึงปลายคอร์ด

Text Box: 4-5
ภาพที่ 4.5  การเขียนส่วนโค้งแบบ Start,center,Length
 










·        *    Start ,  End, Angle (จุดตั้งต้น , จุดปลายมุม ) เป็นการเขียนเส้นโค้งที่เกิดจากการกำหนดจุดเริ่มต้นโค้งและจุดศูนย์สิ้นสุดโค้ง  โดยมุมที่ใช้สำหรับการเขียนเส้นโค้งจะอ้างอิงจากทิศทางที่เรากำหนดตั้งแต่เริ่มต้นเขียนแบบ







ภาพที่ 4.6 การเขียนส่วนโค้งแบบ Start,End ,Angle
 
·       * Start ,  End, Radius  (จุดตั้งต้น , จุดปลาย,รัศมี) เป็นการเขียนเส้นโค้งที่เกิดจากการกำหนดจุดเริ่มต้นโค้งแล้วกำหนดรัศมีที่ใช้ในการเขียนโค้งจากจุดเริ่มต้นมายังจุดสิ้นสุด






ภาพที่ 4.7  การเขียนส่วนแบบ Start ,  End, Radius  
 
 


·       Text Box: 4-6*  Start , End, Direction  (จุดตั้งต้น , จุดปลาย,ทิศทาง) เป็นการเขียนเส้นโค้งที่เกิดจากการกำหนดจุดเริ่มต้นโค้งและทิศทางของเส้นตรงที่สัมผัวโค้ง ณ จุดเริ่มต้น







ภาพที่ 4.8 การเขียนส่วนโค้งแบบ Start , End, Direction
 
 




·       * Center, Start, End   (จุดกึ่งกลาง, จุดเริ่มต้น,จุดปลาย) เป็นการเขียนเส้นโค้งที่เกิดจากการกำหนดจุดศูนย์กลางและจุดเริ่มต้นโค้งเพื่อสร้างเป็นระยะรัศมีที่ใช้ในการเขียนเส้นโค้งโดยมีทิศทางการเขียนแบบทวนหรือตามเข็มนาฬิกาที่เรากำหนดตั้งแต่เริ่มต้นเขียนแบบจนถึงจุดที่กำหนดตั้งแต่เริ่มเขียนแบบจนถึงจุดสิ้นสุดโค้งที่กำหนด




ภาพที่ 4.9    การเขียนส่วนโค้งแบบ Center, Start, End
 
 



·         *   Center, Start, Angle(จุดกึ่งกลาง, จุดเริ่มต้น,มุม) เป็นการเขียนเส้นโค้งที่เกิดจากการกำหนดจุดศูนย์กลางและจุดเริ่มต้นโค้งเพื่อสร้างเป็นระยะรัศมีที่ใช้ในการเขียนเส้นโค้งโดยมุมที่ใช้สำหรับการเขียน เส้นโค้งจะอ้างอิงจากทิศทางที่เรากำหนดตั้งแต่เริ่มเขียนแบบ



ภาพที่ 4.10    การเขียนส่วนโค้งแบบ Center, Start, Angle
 
 


·       Text Box: 4-7 *    Center, Start, Length  (จุดกึ่งกลาง, จุดเริ่มต้น,ความยาว ) เป็นการเขียนเส้นโค้งที่เกิดจากการกำหนดจุดศูนย์กลางและจุดเริ่มต้นโค้ง   เพื่อสร้างเป็นระยะรัศมีที่ใช้ในการเขียนเส้นโค้ง  แล้วกำหนดความยาวคอร์ดของวงกลมที่ต้องการ  จะเกิดเส้นโค้งที่เขียนจากจุดเริ่มต้นโค้งถึงปลายคอร์ด
ภาพที่ 4.11 การเขียนส่วนโค้งแบบ Center, Start, Length  
 










·       *     Continue    ใช้สำหรับเขียนเส้นโค้งเดิม  โดยใช้จุดสิ้นสุดของโค้งเดิมเป็นตุดเริ่มต้นโค้งและมีจุดศูนย์กลางโค้งตามแนวเดียวกับเส้นโค้งเดิม  เพียงกำหนดจุดสิ้นสุดโค้งก็จะเกิดโค้งใหม่ขึ้น


ภาพที่ 4.12  การเขียนส่วนโค้งแบบ Continue
 





หมายเหตุ     วิธีเลือกการใช้คำสั่งในแต่ละรูปแบบนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของงานว่าต้องการอย่างไร
       2.  คำสั่ง  Circle    คือคำสั่งที่ใช้เขียนวงกลม     สามารถกำหนดวิธีการสร้างวงกลมได้  6 วิธี  โดยทุกวิธีสามารถเลือกได้จากการเข้าสู่คำสั่ง  จาก Tool bar  Pull-down Menu การเข้าสู่คำสั่ง Circle
สามารถเข้าดังนี้


Text Box: 4-8ตารางที่ 4.2   การเข้าสู่คำสั่ง  CIRCLE        

Toolbar
Pull-down Menu
Command  Line
Shortcut

Drawn>Circle
CIRCLE หรือ C
-

วิธีการสร้างวงกลมด้วยการกำหนดจุดต่างๆ ได้  6 วิธี  ดังนี้
·                          Center, Radius   (จุดศูนย์กลาง ,รัศมี)      เป็นการเขียนวงกลมด้วยการกำหนดจุดศูนย์กลางและรัศมี




ภาพที่ 4.1 3 การเขียนวงกลมแบบ Center, Radius  
 
 



·       *             Center, Diameter  (จุดศูนย์กลาง ,เส้นผ่าศูนย์กลาง)      เป็นการเขียนวงกลมด้วยการกำหนดจุดศูนย์กลางและเส้นผ่าศูนย์กลาง



ภาพที่4.14     การเขียนวงกลมแบบ Center, Diameter   
 
 




·       *                 2 point   (กำหนดจุด 2 จุด)      เป็นการเขียนวงกลมด้วยการกำหนดตำแหน่งที่ต้องการให้วงกลมผ่าน จุด





ภาพที่ 4.15  การเขียนวงกลมแบบ   2 point      
 
 


Text Box: 4-9
·       *             3  point   (กำหนดจุด 3 จุด)      เป็นการเขียนวงกลมด้วยการกำหนดตำแหน่งที่ต้องการให้วงกลมผ่าน จุด





ภาพที่ 4.16 การเขียนวงกลมแบบ   3  point      
 
 




·                    *      Tan,Tan,Raduis    (กำหนด จุดสัมผัส 2 จุด และรัศมี )      เป็นการเขียนวงกลมด้วยการกำหนดตำแหน่งที่ต้องการให้วงกลมสัมผัส 2 จุดและความยาวของรัศมี

ภาพที่ 4.17 การเขียนวงกลมแบบ Tan,Tan,Raduis         
 







·       Tan,Tan,Tan (กำหนด จุดสัมผัส 3 จุด)      เป็นการเขียนวงกลมด้วยการกำหนดตำแหน่งที่ต้องการให้วงกลมสัมผัส 3 จุด





ภาพที่ 4.18 การเขียนวงกลมแบบ Tan,Tan,Tan  
 
 


Text Box: 4-10       3.   การเขียนรูปวงแหวน (Donut หรือ Doughnut)
ูปวงแหวนคือรูปวงกลมทึบที่มีรูอยู่ตรงกลาง  หรือสามารถทำให้เป็วงกลมทึบได้โดยต้อง
กำหนดให้รัศมีวงกลมในมีค่าเป็น  การเข้าสู่คำสั่ง Donut   และสามารถควบคุม Fill เพื่อเติม
เส้นลงในพื้นที่ระหว่างวงกลมสองวง    สามารถเข้าเข้าคำสั่ง Donut  ดังนี้
ตารางที่ 4.3   การเข้าสู่คำสั่ง  Donut           

Toolbar
Pull-down Menu
Command  Line
Shortcut

Drawn> Donut   
Donut   
-

ตัวอย่างที่  2      การสร้างวงแหวน ทั้งแบบทึบและแบบเติมเส้น
วิธีสร้างวงแหวนวง ก.
Command: DONUT      หรือเรียก Tool bar 
Specify  Inside Diameter of  donut  <…0.5000………..>: .5 ( บอกเส้นผ่านศูนย์กลางวงใน)
Specify Outsidงนี้e diameter of  donut <…1.0000……….>: 1 (บอกเส้นผ่านศูนย์กลางวงนอก)
Specify Center of doughnut <Exit > : (ชี้ตำแหน่งจุดศูนย์กลางของรูปวงแหวน)
 Specify Center of doughnut  <Exit > : (ชี้ตำแหน่งจุดศูนย์กลางของรูปวงแหวนวงต่อไป
 
 




วิธีสร้างวงแหวนวงที่ 2


วิธีสร้าง วงแหวนวงภาพ  ข.
Text Box:  Command: DONUT       หรือเรียก Tool bar     
 Specify  Inside Diameter of  donut  <…0.000………..>: 0 ( บอกเส้นผ่านศูนย์กลางวงใน)
 Specify Outsidงนี้e diameter of  donut <…1.0000……….>: 1 (บอกเส้นผ่านศูนย์กลางวงนอก)
Specify Center of doughnut <Exit > : (ชี้ตำแหน่งจุดศูนย์กลางของรูปวงแหวน)
Specify Center of doughnut  <Exit > : (ชี้ตำแหน่งจุดศูนย์กลางของรูปวงแหวนวงต่อไป
 








ส่วนภาพ ค.และภาพ ง.  จะกำหนดเหมือนภาพ ก และภาพ ข.แต่จะมีการควบคุม Fill เพื่อเติม
เส้นลงในพื้นที่ระหว่างวงกลมสองวง  ซึ่งเข้าสู่การควบคุมด้วยการสั่งงานที่ Command Line ดังนี้
Text Box: Command:Fill       
Enter Mode [ON/OFF] <ON> off
 





Text Box: 4-11









ภาพที่ 4.19  แสดงรูปการใช้คำสั่ง Donut  ทั้งแบบ วงกลมกลวง และวงกลมทึบ
 
  
Text Box:      4. 2  คำสั่ง Ellipse


คำสั่ง Ellipse   คือคำสั่งที่ใช้เขียนวงรี    วงรีจะมีแกนอยู่ 2 แกน คือแกนยาวเรียกว่า Major axis และแกนสั้น เรียกว่า Minor axis จุดที่แกนทั้งสองตัดกันเรียกว่าจุดศูนย์กลาง (Center) ภาพที่ 4.19 แสดงส่วนประกอบของวงรี
 












ภาพที่  4.20   แสดงส่วนประกอบของวงรี


 

Text Box: 4-12การเข้าสู่คำสั่ง  Ellipse   สามารถเข้าดังนี้
ตารางที่ 4.4   การเข้าสู่คำสั่ง Ellipse        

Toolbar
Pull-down Menu
Command  Line
Shortcut
Drawn> Ellipse
Ellipse
-

วีธีสร้างวงรีมี รูปแบบดังนี้
              1.   การเขียนวงรีโดยใช้คำสั่ง Ellipse Center
ตัวอย่างที่ 3    การสร้างวงรี แบบ Center
1)             เลือกเมนู Draw>Ellipse>center หรือ Tool bar 
2)            ที่ Command  Window  ป้อนค่าพิกัดจุดศูนย์กลางของวงรี เช่นเท่ากับ  3,2
       กด<Enter>
3)            ที่ Command  Window  ป้อนค่าระยะรัศมีของแกนที่ 1 เป็นโคออร์ดิเนตแบบ Relative เช่นเท่ากับ  @ 6<0 กด <Enter>
4)            ที่ Command  Window  ป้อนค่าระยะรัศมีของแกนที่ 2 เช่นเท่ากับ 3 กด  <Enter>
 












ภาพที่    4.21   แสดงกรสร้างของวงรีโดยกำหนดจากจุดกึ่งกลางเป็นจุดเริ่มต้น

2.               การเขียนวงรีโดยใช้คำสั่ง  Axis ,End  เป็นวงรีที่เกิดขึ้นจากการกำหนดจุดปลายของ
แกนทั้งที่  และจุดสุดท้ายคือ ระยะจากจุดศูนย์กลางถึงจุดปลายของวงรีแกนที่

Text Box: 4-13ตัวอย่างที่ 4   การสร้างวงรี แบบ Axis ,End 
                1)   เลือกเมนู Drawn>Ellipse >Axis, End  หรือเรียก Tool bar 
2)            ที่ Command  Lineป้อนค่าพิกัดที่ปลายที่1 ของแกนที่1 เช่นเท่ากับ 2,4 กด <Enter>
3)            ที่ Command  Windows  ป้อนค่าพิกัดที่ปลายที่ 2 ของแกนที่ 1 เป็นโคออร์ดิเนตแบบ  Relative เช่นเท่ากับ @8<0 กด <Enter>
4)            ที่ Command  Windows  ป้อนค่ารัศมี ของแกนที่เช่นเท่ากับกด  <Enter>






ภาพที่  4.22  แสดงภาพที่เขียนวงรีแบบ  Axis ,End 
 











            3.  การเขียนส่วนโค้งวงรี    เป็นการสร้างเส้นโค้งที่มีพื้นฐานการสร้างมาจากรูปวงรี  เริ่มจากสร้างวงรีโดยกำหนดจุดปลายแกนทั้ง 2 ด้าน ของแกนวงรีแกนที่ 1 และจุดสุดท้ายคือ ระยะจาก
จุดศูนย์กลางถึงจุดปลายของแกนวงรีแกนที่ 2 จะได้วงรี สำหรับเส้นโค้งที่เกิดจากการกำหนดจุดเริ่มต้นโค้งและสิ้นสุดบนเส้นรอบรูปวงรี
ตัวอย่างที่5  การสร้างวงรีแบบ Arc
                1)   เลือกเมนู Drawn>Ellipse >Arc  หรือเรียก Tool bar 
2)            คลิกที่จุดที่  เพื่อกำหนดจุดเริ่มต้นแกนที่
3)            กำหนดจุดที่  2   เพื่อกำหนดจุดปลายของแกนที่
4)            Text Box: 4-14กำหนดจุดที่ 3   เพื่อกำหนดความยาวของรัศมี แกนที่ 2
5)            กำหนดจุดที่ 4   เพื่อกำหนดมุมเริ่มต้นของส่วนโค้งวงรี
6)            กำหนดจุดที่ เพื่อกำหนดมุมสุดท้ายของส่วนโค้งวงรี
Text Box: 4.3   คำสั่ง  Polygon (รูปหลายเหลี่ยม )







ภาพที่  4.23  แสดงการสร้างวงรีแบบ Arc
 






      1.   กลุ่มคำสั่งการเขียนรูปหลายเหลี่ยม
  1.1  คำสั่ง Rectangle  (รูปสี่เหลี่ยม )  คือการใช้คำสั่งในการวาดรูปสี่เหลี่ยม จัตุรัสหรือ
สี่เหลี่ยมผืนผ้า การเข้าสู่คำสั่ง  Rectangle     สามารถเข้าดังนี้
ตารางที่ 4.5   การเข้าสู่คำสั่ง Rectangle        

Toolbar
Pull-down Menu
Command  Line
Shortcut
Drawn > Rectangle
Rec/Rectangle
-

ซึ่งเมื่อเข้าไปในคำสั่งแล้วจะมีทางเลือกของคำสั่งดังนี้




ภาพที่  4.24 แสดงทางเลือกของคำสั่ง  Rectangle
 

·       Text Box: 4-15Chamfer  เป็นการสร้างสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมตัด โดยกำหนดมุมตัดที่ 1 และ 2 ตามต้องการ
·       Elevation   เป็นการสร้างสี่เหลี่ยมผืนผ้าของภาพ มิติ  สามารถกำหนดระดับความสูงจาก
       แนวระนาบ X,Y
·       Fillet  เป็นการสร้างสี่เหลี่ยมผืนผ้ามนมุม  มุม โดยกำหนดระยะรัศมีของมุมมนได้ ตาม
      ต้องการ
·       Thickness    เป็นการสร้างสี่เหลี่ยมผืนผ้าของภาพ มิติ  สามารถกำหนดความหนาของสี่เหลี่ยมได้
ตัวอย่างที่ 4.6   การสร้างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เริ่มต้นที่ตำแหน่ง X,Y = 2,2 และมีขนาดเท่ากับ 5,3 หน่วยขั้นตอนมีดังนี้ดังนี้
1.             เลือกเมนู Draw/ Rectangle  หรือเรียกจาก Toolbar
2.             ที่ Command  Windows  ป้อนค่าพิกัดมุมที่ 1 ของสี่เหลี่ยม เช่นเท่ากับ 2,2 กด <Enter>
3.             ที่ Command  Windows  ป้อนค่าพิกัดมุมตรงข้ามเป็นโคออร์ดิเนตแบบ Relative เช่นเท่า
กับ 3 , 5  กด <Enter> จะได้สี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง-ยาว  เท่ากับ 5 x 3   โดยเริ่มต้นที่จุด X = 2 และ
 Y = 2

                                                                  

















ภาพที่   4.25  แสดงภาพที่ได้จากเขียนคำสั่ง Rectangle

 






Text Box: 4-16ตัวอย่างที่ 4.7    การสร้างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มุมตัด  เริ่มต้นที่ตำแหน่ง X,Y = 2,2 และมีขนาดเท่ากับ 5,3 หน่วย และให้มุมตัดมีขนาด 1 หน่วย  ขั้นตอนมีดังนี้ดังนี้

ขั้นตอนมีดังนี้ดังนี้
1.             เลือกเมนู Draw/ Rectangle/ Chamfer    หรือเรียกจาก         Toolbar
2.             ที่ Command  Windows  เลือก C กด <Enter>
3.             ป้อนค่าพิกัดมุมที่ 1 ของสี่เหลี่ยม เช่นเท่ากับ 2,2 กด <Enter>
4.             ป้อนค่าความยาวของด้านที่ตัดด้านที่ 1 กด<Enter>
5.             ป้อนค่าความยาวของด้านที่ตัดด้านที่ 1 กด<Enter>(สามารถกำหนดไม่เท่ากันได้)
6.             ที่ Command  Windows  ป้อนค่าพิกัดมุมที่ 1 ของสี่เหลี่ยม เช่นเท่ากับ 2,2 กด <Enter>
7.             ที่ Command  Windows  ป้อนค่าพิกัดมุมตรงข้ามเป็นโคออร์ดิเนตแบบ Relative เช่น
เท่ากับ @3 , 5  กด <Enter> จะได้สี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมตัด  กว้าง-ยาว  เท่ากับ 5 x 3   โดยเริ่มต้นที่จุด
X = 2 และ Y= 2   และมีมุมตัดทั้ง  4  ด้าน เท่ากับ 1
























ภาพที่   4.26  แสดงภาพที่ได้จากเขียนคำสั่ง Rectangle มุมตัด

 
Text Box: 4-17
ตัวอย่างที่ 4.8    การสร้างรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มนมุม  เริ่มต้นที่ตำแหน่ง X,Y = 2,2 และมีขนาดเท่ากับ 5,3 หน่วย และให้รัศมีมุม มีขนาด 1 หน่วย  และเส้นมีความหนา 0. 1  ขั้นตอนมีดังนี้

1.             เลือกเมนู Draw/ Rectangle/ Filet    หรือเรียกจาก         Toolbar
2.             ที่ Command  Windows  เลือก กด <Enter>
3.             ป้อนค่าพิกัดมุมที่ 1 ของสี่เหลี่ยม เช่นเท่ากับ 2,2 กด <Enter>
4.             ป้อนค่ารัศมีเท่ากับ 1   กด<Enter>
5.             พิมพ์ W เพื่อเลือกความหนาของเส้น
6.             กำหนดความหนาของเส้นเท่ากับ 0.1กด <Enter>
7.             ที่ Command  Windows  ป้อนค่าพิกัดมุมที่ 1 ของสี่เหลี่ยม เช่นเท่ากับ 2,2 กด <Enter>
8.             ที่ Command  Windows  ป้อนค่าพิกัดมุมตรงข้ามเป็นโคออร์ดิเนตแบบ Relative เช่นเท่า
กับ@ 3 , 5  กด <Enter> จะได้สี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมตัด  กว้าง-ยาว  เท่ากับ 5 x 3   โดยเริ่มต้นที่จุด X = 2 และ Y= 2   และมีมุมตัดทั้ง  4  ด้าน เท่ากับ 1


















ภาพที่   4.27  แสดงภาพที่ได้จากเขียนคำสั่ง Rectangle มนมุม
 
Text Box: 4-18        1.2    คำสั่ง  Polygon  (รูปหลายเลี่ยม)  ใช้สำหรับเขียนรูปที่มีหลายเหลี่ยมมีขนาดมุมและ
ความยาวแต่ละด้านมีขนาดเท่ากัน การเขียนรูปหลายเหลี่ยมนั้นมีพื้นฐานมาจากรูปวงกลม แต่ก็สามารถเขียนด้วยการกำหนดด้วยด้านได้เช่นกัน    การเข้าสู่คำสั่ง  Polygon  สามารถเข้าดังนี้
ตารางที่ 4.6  การเข้าสู่คำสั่ง Polygon        

Toolbar
Pull-down Menu
Command  Line
Shortcut
Drawn > Polygon
Pol/ Polygon
-
               
การสร้างรูปหลายเหลี่ยมด้วยคำสั่ง Polygon  มีรูปแบบที่ใช้ในการสร้าง 3 วิธีดังนี้
·       Inscribed : เป็นการเขียนรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่าที่อยู่ภายในวงกลม  แต่ละด้านของรูปหลายเหลี่ยมเป็นคอร์ดของวงกลมที่มีความยาวเท่ากัน
·       Circumscribed เป็นการเขียนรูปหลายเหลี่ยมที่เขียนอยู่ภายนอกวงกลม  แต่ละด้านของรูปหลายเหลี่ยมเป็นเส้นสัมผัสของวงกลมที่มีความยาวเท่ากัน
·       Edge ;  เป็นการเขียนรูปหลายเหลี่ยมที่เขียนด้วยการกำหนดตำแหน่งของจุดเริ่มต้นและ
        จุดปลายของด้านใดด้านหนึ่งของรูปหลายเหลี่ยม
ตัวอย่างที่ 4.9     การเขียนรูปหลายเหลี่ยมด้วยคำสั่ง Polygon ด้วย Inscribed โดยกำหนดจุดกึ่งกลางที่ ตำแหน่ง X, Y =3, 3 มีรัศมี 2 และจำนวนด้าน 7 ด้าน

ขั้นตอนการเขียนรูปมีดังนี้
Text Box: Command: POLYGON หรือ เรียกจาก Tool bar     (เข้าสู่คำสั่ง)  
Polygon Enter number of sides < 4 >: 7 (บอกจำนวนด้านของรูปหลายเหลี่ยม ปกติจะให้ไว้เป็น 4 )  
Specify Center of Polygon or [Edge]: 3,3   (กำหนดตำแหน่งของจุดศูนย์กลาง)  
Enter an option [Inscribed in circle/ Circumscribed about circle <I>:I (พิมพ์ I เพื่อเลือกคำสั่งย่อย Inscribed)  
Specify Radius of circle:  @2<90   (ให้ความยาวของรัศมีโดยการชี้หรือกำหนดเป็นตัวเลข)  
               

                                                               









Text Box: 4-19







ภาพที่ 4.28   แสดงการเขียนรูปด้วยคำสั่ง Polygon แบบ Inscribed
 

ตัวอย่างที่ 4.10    การเขียนรูปหลายเหลี่ยมด้วยคำสั่ง Polygon ด้วย Circumscribed โดยกำหนด
จุดกึ่งกลางที่ ตำแหน่ง X,Y =3,3  มีรัศมี 2 และจำนวนด้าน 7 ด้าน
วิธีทำ     ขั้นตอนการเขียนรูปมีดังนี้
Text Box: Command: POLYGON หรือ เรียกจาก Tool bar     (เข้าสู่คำสั่ง)  
Polygon Enter number of sides < 4 >: 7 (บอกจำนวนด้านของรูปหลายเหลี่ยม ปกติจะให้ไว้เป็น 4 )  
Specify Center of Polygon or [Edge]: 3,3   (กำหนดตำแหน่งของจุดศูนย์กลาง)  
Enter an option [Inscribed in circle/ Circumscribed about circle<I>:C (พิมพ์ Cเพื่อเลือกคำสั่งย่อย Circumscribed )  
Specify Radius of circle:  @2<90   (ให้ความยาวของรัศมีโดยการชี้หรือกำหนดเป็นตัวเลข)  
               

                                                               
















ภาพที่ 4.29  แสดงการเขียนรูปด้วยคำสั่ง Polygon  แบบ Circumscribed
 



ตัวอย่างที่  4.11   การเขียนรูปหลายเหลี่ยมด้วยคำสั่ง Polygon  ด้วย Edged โดยกำหนดจุดเริ่มต้นของด้าน X,Y =2, 2     ความยาวของด้านเท่ากับ  1 และจำนวนด้าน 7 ด้าน
Text Box: 4-20ขั้นตอนการเขียนรูปมีดังนี้
Text Box: Command: POLYGON หรือ เรียกจาก Tool bar     (เข้าสู่คำสั่ง)  
Polygon Enter number of sides < 4 >: 7 (บอกจำนวนด้านของรูปหลายเหลี่ยม ปกติจะให้ไว้เป็น 4 )  
Specify Center of Polygon or [Edge]: e    (พิมพ์ e เพื่อเลือกคำสั่งย่อย Edge )  
Specify first endpoint of edge: 3,3    (กำหนดจุดเริ่มต้นของด้านหรือจุด A )  
Specify Radius of circle:  @1<45    (ป้อนค่าที่ B เทียบกับจุด A เป็นแบบ Relative polar  )  
               






                                                               







ภาพที่ 4.30  แสดงการเขียนรูปด้วยคำสั่ง Polygon  แบบ  Edge
 
Text Box: 4.4  กลุ่มคำสั่งการกำหนดจุด






1.   Point Style (รูปแบบจุดก่อนที่จะใช้คำสั่ง Point  เราต้องเลือกรูปแบบของจุดก่อน  เนื่องจากตัวโปรแกรมที่กำหนดจุดเป็น ( . )   ซึ่งเมื่อเราใช้คำสั่ง Point  แล้วจะมองไม่เห็น การเลือกรูปแบบของจุด (Point Style) ได้โดยคำสั่ง Point Style การเข้าสู่ไดอะล็อกบ๊อกซ์ Point  Style    สามารถเข้าดังนี้
ตารางที่ 4.7  การเข้าสู่คำสั่ง Point Syle

Toolbar
Pull-down Menu
Command  Line
Shortcut
-
Format >Point Style
DDPTYE
-

การสร้างจุดอาศัยเพียงการกำหนดตำแหน่งเท่านั้นแต่สามารถเลือกกำหนดขนาดของจุดได้ แบบคือ
·       Set  Size  Relative  to Screen :  กำหนดขนาดจุดเป็นเปอร์เซนต์ของหน้าจอ  การย่อหรือขยายภาพหน้าจอขณะเขียนแบบทำให้ขนาดของจุดเปลี่ยนแปลงด้วย
·       Text Box: 4-21Set  Size  in Absolute  Units :  กำหนดขนาดเป็นหน่วยตามที่ตั้งไว้  การย่อหรือขยายภาพจากหน้าจอ ขณะเขียนแบบไม่เป็นผลต่อขนาดของจุด



               





  

ภาพที่  4.31    แสดงขั้นตอนการเลือกรูปแบบจุด


 

     2.   คำสั่ง Point  (คำสั่งการกำหนดจุด การเข้าสู่คำสั่ง Point 
ตารางที่ 4.8  การเข้าสู่คำสั่ง Point

Toolbar
Pull-down Menu
Command  Line
Shortcut
-
Drawn >Point
Point
-

เมื่อเข้าสู่คำสั่ง Point แล้วสามารถเลือกวิธีการสร้างจุดในเมนูย่อย ซึ่งมี ดังนี้
·       Single Points :  สามารถกำหนดตำแหน่งของจุดได้เพียง 1 ครั้งต่อ 1 คำสั่ง
·       Multiple  point : สามารถกำหนดตำแหน่งของจุดได้หลายตำแหน่งอย่างต่อเนื่องต่อ 1 คำสั่ง
·       Divide : เป็นการสร้างจุดบนชิ้นงานที่เลือกและแบ่งเป็นส่วน  ส่วนละเท่าๆกัน โดยกำหนดจำนวนส่วนที่ต้องการให้แบ่ง
·       Measure : เป็นการสร้างจุดบนชิ้นงานที่เลือกและแบ่งเป็นส่วน  โดยกำหนด
        ความยาวที่ต้องการให้แบ่ง  เศษความยาวที่เหลือจากการแบ่งจะอยู่ที่ส่วนปลาย
Text Box: 4-22








ภาพที่  4.32  แสดงขั้นตอนการเข้าสู่คำสั่ง Point


 

                   การใช้คำสั่ง Divide
Text Box: Command:  divide  (เลือกเมนู Draw/point/Divide หรือพิมพ์ Divide ที่Command หรือเลือก Toolbar       )     
Select  object  to divide:   (ใช้เมาส์ เลือกวัตถุที่ต้องการแบ่ง)  
Enter  the number  of segments  or [ Block ] : 8  (ใส่จำนวนจุดที่ต้องการแบ่งเช่น 8 )  
                คำสั่ง  Divide  เป็นคำสั่งที่ใช้ในการแบ่งส่วนต่าง ๆ ของ เส้นตรง  เส้นCurve  วงกลม และส่วนโค้งกระทำดังนี้





  ผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้คำสั่ง Divide 
 











Text Box: 4-23




                   การใช้คำสั่ง Measure :
เป็นการสร้างจุดบนชิ้นงานที่เลือกและแบ่งเป็นส่วน  โดยกำหนดความยาวที่ต้องการ
ให้แบ่ง  เศษความยาวที่เหลือจากการแบ่งจะอยู่ที่ส่วนปลาย สามารถสร้างชิ้นงานดังนี้
Text Box: Command:  divide  (เลือกเมนู Draw/point/ Measure หรือพิมพ์ Measureที่Command หรือเลือก Toolbar    )     
Select  object  t to measure:   (ใช้เมาส์ เลือกวัตถุที่ต้องการแบ่ง)  
Select object to measure: [ Block ] :0. 8  (ใส่ค่าระยะที่จะแบ่ง เช่น0. 8 )




  ผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้คำสั่ง measure  













       1.  Hatch   คือคำสั่งการเขียนลวดลายภาพตัด (Section Line)  ด้วยรูปแบบลวดลายต่าง ๆ  
ภาพที่ 4.34     แสดงรูปตัดของชิ้นส่วนที่ใช้ลวดลายประกอบ (การ Hatch แบบนี้ต้องมีขอบเขต)


Text Box: 4-24











ภาพที่ 4.35  แสดงการชิ้นส่วนที่ใช้ลวดลายของ  HATCH


 
                                                                                                                               

                นอกจากนี้ยังมีคำสั่งอื่นที่เกี่ยวข้องในการสร้างเส้นลายตัด  การใช้เส้นลายตัดในแต่ละแบบย่อมขึ้นอยู่กับความแตกต่างของวัสดุแต่ละชนิด  ซึ่งจะตอบสนองการใช้งาน  ซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐาน

ANSI (American  National  Standard  Institute)  และ ISO  (International  Organization  of  Standardization) รูปแบบของลาย Hatch and Gradient ที่โปรแกรมตั้งให้มามีทั้งหมด ชุด โดยดูจากช่อง Pattern ของไดอะล็อกบ็อกซ์ Hatch and Gradient
     1.   แบบ ANSI (American  National  Standard  Institute)  มี 8 รูปแบบ
                                               






ภาพที่ 4.36 เส้นลายตัดตาม ANSI
 



Text Box: 4-25       2.   แบบ ISO มี 14 รูปแบบ








ภาพที่ 4.37   เส้นลายตัดตาม ISO  14 รูปแบบ
 
                               
       3.   แบบ Other  Predefined  ISO มี   47  รูปแบบ

               





ภาพที่ 4.38
รูปแบบที่เป็น Other Predefined
มี 47 รูปแบบ
 






4. Gradient เป็นรูปแบบที่เพิ่มขึ้นมาใหม่จากเวอร์ชั่น 2005 สามารถเลือกระดับสีเฉดสีเพียงสีเดียวหรือมีคู่สีเพิ่มเป็น 2 สีก็ได้

 
Text Box: 4-26









ภาพที่ 4.39 รูปแบบต่าง ๆของ Gradient
 

ตารางที่ 4.9  การเข้าสู่คำสั่ง HATCH  แบบมีขอบเขต

Toolbar
Pull-down Menu
Command  Line
Shortcut
Drawn > HATCH
HATCH
-

หลังจากคำไปในคำสั่ง HATCH จะได้ไดอะล็อกบ็อกซ์ ของ HATCH





ภาพที่ 4.40 แสดงไดอะล็อกบ็อกซ์
ของ HATCH
 





Text Box: 4-27ส่วนประกอบใน  HATCH  Tap ประกอบด้วย
1.     Type :  กำหนดรูปแบบของ Pattern  ในการสร้างเส้นลายตัด ซึ่งประกอบด้วย
Ø Predefined เป็นการเลือกเส้นลายตัดที่มีอยู่แล้ว  สามารถเลือกได้ 2 ทางคือ ทางแรกที่
Patternจะมี          ให้คลิกเพื่อเลือกเส้นลายตัดที่ต้องการใช้งานจากไดอะล็อกบ็อกซ์ Hatch  Pattern   หรือคลิกที่ Drop-down list  เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบใน Pattern
               





 







ภาพที่ 4.41   แสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ Hatch  Pattern
 
 



Ø User-definded : เป็นเส้นลวดลายตัดเป็นเส้นตัดที่เป็นเส้นตรงตามธรรมดาที่สามารถกำหนดค่าของมุม (Angle) และระยะห่าง (Spacing) ได้จากไดอะล็อกบ็อกซ์ Boundary Hatch
Ø Custom :  เป็นเส้นลายตัดที่สร้างขึ้นมาเองแล้วเก็บไว้เป็นไฟล์ที่ .pat และเก็บไว้ใน    ACAD.pat  
2.             Patten :ใช้สำหรับเลือกรูปแบบของเส้นลายตัดโดยคลิกที่               หรือ Drop-down list
              เพื่อกำหนดรูปแบบ
        3.  Swatch : เป็นช่องสำหรับแสดงตัวอย่างเส้นลายตัดที่เลือกและกำหนดค่าไว้เพื่อใช้ ประกอบ 
             การพิจารณาในการเลือกลายตัด
4.             Angle:ใช้ในการปรับมุมลาดเอียงของเส้นลายตัด ด้วยการคลิกเลือกขนาดของมุม
       ที่  Drop-down list 
Text Box: 4-28    
       5.  Scale : เป็น Factor  สำหรับย่อหรือขยายขนาดเส้นลายตัดให้มีขนาดเหมาะสมกับพื้นที่
           ที่กำหนดไว้สำหรับเขียนเส้นลายตัด  เลือกได้จากการคลิกที่ Drop-down list  เพื่อกำหนดค่า
       6.  Relative  to paper Space : เป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการกำหนดความสัมพันธ์
       7.  Spacing :ใช้ในการกำหนดระยะห่างระหว่างเส้นของเส้นตัดเมื่อกำหนด Type เป็น
          User-defined
       8.  ISO Pen Wide : เมื่อกำหนด Pattern  เป็น ISO Pattern  จะต้องกำหนดความหนาของปากกา
            ในการเขียนเส้นลายตัดที่เป็น ISO Pattern 
รูปแบบในการเลือกพื้นที่  
สำหรับส่วนประกอบในส่วนนี้มี 6 ข้อ ในที่นี้ะขอกล่าวเป็นเพียงบางส่วนที่ใช้งานดังนี้
        9.                                           เป็นการกำหนดจุดพื้นที่สำหรับสร้างเส้นลายตัดโดยให้ AutoCAD
ทำการค้นหาเส้นขอบเขตปิดของพื้นที่โดยอัตโนมัติเอง โดยจะต้องเลือกคลิกพื้นที่ที่ต้องการเพื่อ
เป็นจุดที่อยู่ภายในขอบเขตของพื้นที่สำหรับลงเส้น







ภาพที่ 4.42   แสดงการเลือกพื้นที่ Hatch  แบบ Pick Point
 
 


          10.                                               เป็นการกำหนดขอบเขตของพื้นที่ที่ต้องการสร้างเส้นลายตัด 
โดยผู้ใช้เป็นผู้กำหนดเอง  ขอบเขตที่กำหนดต้องเป็นขอบเขตปิด
ภาพที่ 4.43  แสดงการเลือกพื้นที่ Hatch  แบบ Select Object
 







Text Box: 4-29    11   Associative/Non associativeหากมีการเปลี่ยนแปลงขนาดขอบเขตด้วยการ ใช้คำสั่ง Stretch  เมื่อมีกาiใช้คำสั่ง Associative  จะทำให้ลายตัดที่สร้างจาก  Hatch  นั้นเปลี่ยนแปลงไปด้วย แต่ถ้า
ใช้  Non associative   เส้นลายตัดก็จะไม่เปลี่ยนแปลงดังภาพที่ 4.42
ภาพที่ 4.44   แสดงการเลือกพื้นที่แบบ Associative/Non associative
 














ส่วนประกอบใน Advanced  Tap   
ประกอบด้วยมีหลายข้อในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะในส่วนที่ใช้บ่อยดังนี้











ภาพที่ 4.45  แสดงการเลือก Advanced  Tap
 
 


Text Box: 4-30      1.    Island  detection  style :  เป็นส่วนใช้กำหนดการเขียนเส้นลายตัด  เมื่อพื้นที่ภายในขอบเขตที่กำหนดที่ AutoCAD พบ มีตัวอักษร (Text)  หรือพื้นที่ปิดอื่น (Island ซึ่งทั้ง 2 สิ่งนี้มีผลต่อการเขียนเส้นลายตัด  สามารถกำหนดการเขียนได้ รูปแบบดังนี้
Ø Normal : เป็นรูปแบบที่ AutoCAD ตั้งค่าไว้ก่อนแล้ว  เส้นลายตัดที่เขียนด้วยรูปแบบ Normal
จะเริ่มเขียนภายในขอบเขตแรกก่อนแล้วยกเว้นภายในพื้นที่ปิดทั้งสองและเส้นลายตัดจะถูกเขียนขึ้นอีกครั้งภายในพื้นที่ปิดที่อยู่ถัดออกไปอีก เป็นเช่นนี้สลับไปเรื่อย ๆ
Ø Outer : เป็นรูปแบบที่กำหนดการเขียนเส้นลายตัดเฉพาะขอบเขตพื้นที่ปิดที่อยู่ด้านนอกสุด
สำหรับพื้นที่ปิดภายในจะถูกยกเว้นเส้นลายตัด
Ø Ignore : เป็นรูปแบบที่กำหนดการเขียนเส้นลายตัดให้มีการเขียนโดยคำนึงถึงเฉพาะขอบเขต
พื้นที่ปิดภายนอกเท่านั้น  ส่วนพื้นที่ปิดรวมทั้งตัวอักษรก็ไม่คำนึงถึงโดยถูกเส้นลายตัดเขียนทับ

ภาพที่ 4.46  แสดงการ Hatch ในรูปแบบต่าง ๆ
 












                2.  Object  Type : เป็นส่วนที่ใช้ในการสร้าง Polyline  หรือ Region จากพื้นที่ขอบเขตที่เลือกไว้ด้วยรูปแบบ






Text Box: 4-31ตัวอย่างที่ 4.9    การ  Hatch  แบบไม่มีขอบเขต
วิธีทำ





















ภาพที่ 4.47 แสดงการ Hatch ในรูปแบบไม่มีขอบเขต

 





3.   Text Box: 4-32 คำสั่ง  Hatch edit   เป็นคำสั่งที่ใช้ในการแก้ไขลวดลาย  ลวดลายที่ได้สร้างขึ้นมาแล้ว
สามารถเปลี่ยนแบบได้ด้วยการใช้คำสั่ง Hatch Edit วิธีเข้าคำสั่ง Hatch Edit  จะได้
ไดอะล็อกบ็อกซ์ Hatch เกิดขึ้นมา








ภาพที่ 4.48  แสดงการ เรียกคำสั่ง Hatch

 


หรือใช้เมาส์คลิกเลือกภาพที่ที่ต้องการแก้ไขจะมี Pop menu เกิดขึ้นมาเลือก Hatch Edit ตามรูป และเมื่อเลือก Hatch Edit แล้วจะเกิดไดอะล็อกบ็อกซ์ Hatch ทำการเลือกลวดลายที่ต้องการเสร็จแล้วกด OK






 

 


ภาพที่ 4.49    แสดงการเลือกคำสั่ง Hatch Edit โดยวิธีคลิกขวาที่รูป
 

Text Box: 4-33      3.  การแก้ไขลวดลายโดยใช้คำสั่ง Explode          
                ลวดลายที่เขียนขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นแบบไหน จะมีลักษณะเป็นวัตถุชิ้นเดียวเราสามารถแยกเส้นเป็นชิ้นๆ ด้วยคำสั่ง EXPLODE หลังจากนั้นเราอาจจะแก้ไขอย่างใดก็ได้ ดังตัวอย่างใน
ภาพที่ 4.46






  ภาพที่ . เขียนลวดลายโดยใช้คำสั่ง Hatch Edit
 
ภาพ ข.หลังจากใช้คำสั่ง Explodeแล้วสามารถขลิบได้
 
                                                                                                                                                               

ภาพที่ 4.50  แสดงการแก้ไขลวดลายโดยใช้คำสั่ง Explode
 
                               

Text Box: 4.5 กลุ่มคำสั่งเสริมในการเขียนภาพ 



    หมายเหตุ   เนื่องจากรายละเอียดของคำสั่งในกลุ่มนี้ มีค่อนข้างมาก จึง จะกล่าวเฉพาะที่ใช้งานจริงเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ส่วนละเอียดทั้งหมดจะกล่าวในบทต่อ ๆ ไป

              1.   Zoom   เป็นคำสั่งโปร่งใสการซูมคือการเปลี่ยนขนาดของมุมมอง โดยที่วัตถุ ไม่ได้
เปลี่ยนขนาดแต่อย่างใด  มุมมองการซูมมีอยู่หลายรูปแบบ 

ตารางที่ 4.10  การเข้าสู่คำสั่ง  Zoom 

Toolbar
Pull-down Menu
Command  Line
Shortcut

View> Zoom
Zoom หรือ Z
-

 การเข้าไปในคำสั่ง Zoom  จะมีทางเลือกมากมายตามรูป  แต่ในที่จะขอกล่าวเฉพาะในส่วนที่ใช้งานมากเท่านั้น

ภาพที่ 4.51   แสดงทางเลือกของคำสั่ง Zoom
 
Text Box: 4-34
















         1)   Zoom In  และ  Zoom Out   การ  Zoom In คือการขยายมุมมองของแบบทั้งแผ่นให้ใหญ่ขึ้นเป็น 2 เท่า  และการ Zoom out หรือการย่อมุมมองให้เล็กลงครึ่งหนึ่ง  ทำดังนี้
§       ใช้เมนู  View/Zoom/in  แบบทั้งแผ่นจะใหญ่ขึ้นเป็น  2  เท่า
§       ใช้เมนู  View/Zoom/Out  แบบทั้งแผ่นจะเล็กคงครึ่งหนึ่ง
         2)   Zoom  Window   เป็นการตีกรอบรอบบริเวณที่ต้องการ มุมล่างซ้ายของกรอบจะ
เป็นมุมล่างซ้ายของแบบใหม่ที่ขยายมุมมองออกไปแล้ว  การซูมแบบนี้  ทำดังนี้
§       ใช้เมนู View/Zoom/Window  หรือเลือกเครื่องมือ             หรือพิมพ์    Z  ดังนี้
Command:  ZOOM
Specify Corner of window, enter a scale factor (nX or nXP), or
[All/Center/Dynamic/Extents/Previous/Scale/Window] <real time>: W
Specify corner: ชี้จุดมุมจุดหนึ่ง
Other corner: ลากเมาส์ตีกรอบครอบพื้นที่ที่ต้องการ ชี้จุดมุมตรงกันข้าม
Command:
 
 






Text Box: 4-35    3)  ZOOM all เป็นการซูมดูรูปทั้งหมดที่เขียนในแบบ ถ้ารูปทั้งหมดอยู่ในขอบเขตของ
แบบ  (Limits)  จะเป็นมุมมองทั้งหมดในขอบเขตนั้น

    2.   กลุ่มคำสั่งการลบวัตถุ
Ø    Erase   เป็นคำสั่งที่ใช้ลบชิ้นส่วนที่ไม่ต้องการออกทิ้งไป  เราสามารถเลือกวัตถุทีละชิ้นหรือเป็นกลุ่มก็ได้   เรียกคำสั่งจากเมนู  Modify/Erase หรือเรียกจาก Toolbar
Ø   Undo/ Redo 
        Undo  คือคำสั่งที่ย้อนคำสั่งเดิมที่ทำไว้แล้ว  เรียกคำสั่งจากเมนู  Edit /Undo หรือเรียกจาก Toolbar
         Redo  คือการยกเลิกคำสั่ง Undo ในครั้งที่ผ่านมา จะใช้งานตรงกันข้ามกับ Undo
Ø    ลบโดยใช้การตัดไปไว้ที่  Chipboard  โดยเลือกวัตถุก่อนและเลือก Toolbar

3.   คำสั่ง Trim (การตัดวัตถุ)

                เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตัดเฉพาะส่วนที่ไม่ต้องการ  โดยกำหนดขอบเขตของเส้นที่ต้องการ
ตารางที่ 4.11 การเข้าสู่คำสั่ง Trim 

Toolbar
Pull-down Menu
Command  Line
Shortcut
Modify > Trim
Trim
-

เมื่อเข้าสู่คำสั่ง Trim  แล้วจะปรากฎคำสั่งย่อยในการใช้งานให้มีรูปแบบมากขึ้น ประกอบด้วย
Ø Project : ใช้ในการกำหนดสถานะของภาพที่ต้องการตัดในระบบ 3 มิตื
Ø Edge :  ใช้ในการตัดเส้นภายในขอบเขต  มีการกำหนดขอบเขต วิธี
-                   Extend :  ให้กำหนดขอบเขตแนวตัดด้วยการสมมุติ  โดยขอบเขตจะไม่ชนกับเส้นที่ต้องการตัด
-                   No extend : ให้ยืดขยายเส้นที่เลือกต่อไปยังขอบเขตจริงที่กำหนดขึ้นในแนวเดียวกับเส้นที่เลือก
-                   Undo : ใช้ในการยกเลิกการทำงานของคำสั่ง Extend ครั้งที่ผ่านมา



 


ภาพที่ 4.52 แสดงขั้นตอนการใช้คำสั่ง Trim
 
Text Box: 4-36




















4.  คำสั่ง Text   คือคำสั่งที่ใช้เขียนตัวอักษร มีลักษณะการเขียน รูปแบบคือ Mtext และ
      Single line Text
ตารางที่ 4.12  การเข้าสู่คำสั่ง  Text 

Toolbar
Pull-down Menu
Command  Line
Shortcut
 / 
Drawn > Text
Mt/t
-

Mtext   ใช้เขียนข้อความหลายบรรทัด
Single Text  คำสั่งที่ใช้เขียนตัวอักษรทีละ 1 บรรทัด


                                ************************************************************

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การใช้คำสั่งพื้นฐานในงานเขียนแบบสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า

วิชาเขียนแบบไฟฟ้าด้วยคอมพิวเตอร์ (3104-2005) บทที่2