วิชาเขียนแบบไฟฟ้าด้วยคอมพิวเตอร์ (3104-2005) บทที่2
วิชาเขียนแบบไฟฟ้าด้วยคอมพิวเตอร์ (3104-2005) บทที่2
เทคนิคการใช้งานเบื้องต้นของโปรแกรม AutoCAD
ในปัจจุบันวิวัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์ได้รุดหน้าอย่างรวดเร็ว ประกอบกับคอมพิวเตอร์มีราคาถูก จึงมีผู้หันมานิยมใช้คอมพิวเตอร์กันมากขึ้นโดยเฉพาะงานด้านการออกแบบ-เขียนแบบโปรแกรม AutoCAD (Computer-Aided-Design หรือ Computer-Aided-Drafting) เป็นซอพแวร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากเนื่องจากเป็นซอฟแวร์ที่สามารถใช้งานได้ทั่วๆไป
จุดเด่นของ โปรแกรม AutoCAD มีมากมายสามารถสรุปได้ดังนี้
- ใช้งานง่าย มีความละเอียดแม่นยำในการสร้างชิ้นงาน สามารถกำหนดทศนิยมได้ถึง 8 ตำแหน่ง
- มีเครื่องมือช่วยในการเขียนแบบมกมาย เช่น Tool bar ของกลุ่มคำสั่งต่างๆ กลุ่ม Osnap
ช่วยให้ทำงานได้รวดเร็ว โหมดตัวช่วยที่ Status Bar ที่สามารถ ปิด-เปิด การใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
- ในส่วนของกการเขียนภาพ สามารถเขียนแบบแปลน 2 มิติ และ 3 มิติ การเขียน
Diagram การเขียนภาพ Isometric ฯลฯ
- การนำไฟล์เข้าจากโปแกรมอื่น
- การใช้งานร่วมกับโปรแกรมอื่น
- การคำนวณหาพื้นที่ การบวกลบพื้นที่
- การกำหนดชั้นของเลเยอร์ใช้งาน
ฯลฯ
งานเขียนแบบไฟฟ้าส่วนมากจะเป็นงานเขียนแบบ 2 มิติ โปรแกรม AutoCAD จึงมีความเหมาะสม ยิ่งในงานเขียนแบบไฟฟ้า เพราะสามารถกำหนดชั้น (เลเยอร์) ของการใช้ เช่น กำหนดการปิด-เปิดงาน กำหนดขอบข่ายของการพิมพ์งาน การแก้ไขชิ้นงาน และอื่นๆ อีกมากมาย
2.1การเรียกใช้โปรแกรม AutoCAD
เมื่อติดตั้งโปรแกรม AutoCAD เรียบร้อยแล้ว จะได้ AutoCAD Shortcut icon บน Windows Desktop และ AutoCAD Group ที่ Taskbar บนปุ่ม
ขั้นตอนการเรียกใช้โปรแกรมAutoCAD มีดังนี้
1. คลิกปุ่ม Start>AutoCAD 2008>
หรือดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน AutoCAD 2008 หรือ AutoCAD ตามเวอร์ดิชั่นต่าง ๆ บนWindow Desktop
2. คลิกเลือก No. Don’t Show me this again เมื่อเรียกโปรแกรม AutoCAD ใหม่หน้าต่างนี้จะไม่
ปรากฏ แต่สามารถใช้งานได้เลย
3. คลิกปุ่ม OK จะเข้าสู่โปรแกรม AutoCAD
4. จะเข้าสู่พื้นที่ทำงานแบบ 2D Drafting & Annotation ให้เราเปลี่ยนพื้นที่ทำงานให้เป็นแบบ AutoCAD Classic เพื่อให้แสดงเครื่องมือในการเขียนแบบด้วย โดยเลือกจากพื้นที่ทำงานที่ Tool bar Workspaces
5.
จะปรากฏพื้นที่ทำงานแบบ AutoCAD Classic ขึ้นมา ให้เราสามารถ เปิด –ปิด

Tool bar ที่ต้องการใช้งาน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับชนิดของงานที่ต้องใช้
· ไอคอน Open a Drawing สำหรับเปิดไฟล์งานเขียนแบบที่มีอยู่แล้ว
· ไอคอน Start from Scratch เมื่อต้องการเริ่มต้นเขียนแบบใหม่ พร้อมระบบหน่วยที่ใช้ในการเขียนแบบ เช่นเลือกหน่วยระบบ Metric ไฟล์ต้นแบบ(Template Drawing) ที่ได้จะเป็น acad.dwt มีขอบเขตในการเขียนแบบเท่ากับ 420x497 มม. และถ้าเลือกหน่วยระบบ English ไฟล์ต้นแบบที่ได้คือacad.dwt มีขอบเขตในการเขียนแบบเท่ากับ 12x9 นิ้ว
· ไอคอน Use a Template สำหรับงานเขียนแบบใหม่ที่ต้องการเลือกใช้ไฟล์ต้นแบบที่ต้องการเอง
· ไอคอน Use a Wizard เป็นการเปิดไฟล์เขียนแบบใหม่ โดยการเลือก Quick Setup wizard หรือ Advanced Setup wizard
2.2 ส่วนประกอบของโปรแกรม AutoCAD
เมื่อเข้าสู่โปแกรม AutoCAD แล้ว จะพบหน้าจอที่มีประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สำคัญดังนี้
Properties Toolbar ใช้ในการกำหนดสี กำหนดเส้น ชนิดของเส้น และกำหนด
เมื่อเข้าสู่โปแกรม AutoCAD แล้ว จะพบหน้าจอที่มีประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สำคัญดังนี้
หมายเลข (1) Menu Bar: เป็นหมวดชุดคำสั่งหลัก ที่เมนูบาร์จะประกอบด้วยคำสั่งย่อยๆ แบบ Pop-up Menu หรือ Pull down Menu คำสั่งต่างๆ บน Pull
down Menu มีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1.
คำสั่งแบบ Activate ได้แก่ คำสั่งที่โปรแกรมปฏิบัติงานทันทีเมื่อคลิกเลือก
2.
คำสั่งแบบ Cascading Menu ได้แก่คำสั่งที่มีสัญลักษณ์
“4”
อยู่ท้ายคำสั่ง ภายในคำสั่งจะประกอบด้วยคำสั่งย่อยๆ อีกตามภาพที่ 2.4
3.
คำสั่งที่มีสัญลักษณ์ “…” อยู่ท้ายคำสั่ง เมื่อถูกเรียกใช้จะได้ไดอะล็อกบ๊อกซ์ ของคำสั่งนั้นๆ เพื่อใช้ควบคุมหรือกำหนดเงื่อนไขต่างๆ
สำหรับโปรแกรม AutoCAD
หมายเลข (2) Toolbars: เป็นหมวดคำสั่งที่แสดงรายการย่อย และทางเลือกทางเลือกย่อยของคำสั่ง ประกอบด้วยไอคอนของกลุ่มคำสั่งต่างๆ มากมาย เมื่อวางเคอร์เซอร์บนไอคอนจะปรากฏคำอธิบายหรือ ToolTip ที่ใต้เคอร์เซอร์ ตัวอย่าง Tool bar ที่ใช้งานบ่อยเช่น
· Standard Toolbar ประกอบด้วยเครื่องมือในการจัดเก็บเอกสาร เช่น
เปิดไฟล์ ใหม่
เปิด-ปิดไฟล์
การบันทึกไฟล์ การพิมพ์งาน การตัด การ Copy การเรียกคำสั่งย้อนกลับ การเลื่อนภาพ
การย่อ-ขยาย การกำหนดคุณสมบัติ
เครื่องมือคำนวณ หรือการข้อความช่วยแหลือ และอื่น ๆ·

ความหนาของเส้น ซึ่งรายละเอียดจะขอกล่าวในบทต่อไป
· Drawn Toolbar ประกอบด้วยเครื่องมือพื้นฐานในการขึ้นรูป
เช่น เส้นตรง
รูปหลายเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม ส่วนโค้ง วงกลม วงรี บล็อก การสร้างลวดลาย การสร้างตาราง และการเขียนตัวอักษร
· Modify Toolbar ประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้แก้ไข
เช่น การลบ การคัดลอก
การคัดลอกแบบภาพกลับข้าง
การทำเส้นขนาน การจัดวางเรียงแถว การเคลื่อนย้าย การหมุนภาพ การย่อขยาย
การยืด การตัด-ต่อ ชิ้นงาน การตัดมุม
มนมุม และ แยกส่วนชิ้นงาน เป็นต้น
· Dimension Toolbar ประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้บอกขนาดต่าง
ๆ เช่น บอกขนาดเส้น
ระยะรัศมี
และเส้นผ่าศูนย์กลาง ขนาดมุมและอื่นๆอีกมากมาย
· Layer Toolbar ประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการแบ่งวัตถุออกเป็น
เลเยอร์ และยัง
สามารถควบคุมเลเยอร์ทำการได้ด้วย
· Workspaces Toolbar ใช้กำหนดพื้นที่ในการเขียนแบบ
จะประกอบด้วย 2 Dและ 3 D
หมายเลข (3) Graphic Area: เป็นบริเวณหน้าจอที่ใช้สำหรับเขียนภาพและแสดง
งานเขียนแบบ หรือกราฟิกต่างๆ ที่มุมล่างซ้ายของ Drawing Area มีเครื่องหมายของแกน X,Y และอักษร W เราเรียกว่าไอคอน UCS (World Coordinate System) ซึ่งแสดงถึงทิศทางและตำแหน่งของจุดพิกัดตามแกน
X,Y และ Z ตำแหน่งพิกัดของไอคอน UCS จะอยู่ประจำที่มุมล่างซ้ายเสมอ โดยมีพิกัดเป็น X = O, Y = O และ Z = O ส่วนมุมบนขวาจะมีพิกัดแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับขอบเขตหรือขนาดงานเขียนแบบ
และผู้เขียนแบบสามารถกำหนดเองได้เคอร์เซอร์ที่ปรากฏบนบริเวณเขียนแบบ
หมายเลข (4) Model Tab และ Layout Tabs: เป็น Tab สำหรับปรับเปลี่ยน Drawing Areaระหว่าง Model
Space (พื้นที่เขียนแบบ) กับ Paper
Space (Layout) โดยปกติเราจะเขียนแบบและออกแบบบน Model Space และสร้างแบบสำหรับพิมพ์งานเขียนแบบ
(Layout) บน Paper Space
หมายเลข (5) Command Line : เป็นบริเวณที่ AutoCAD แสดงคำสั่งหรือค่าพิกัดที่เราป้อน หรือข้อความต่างๆที่ AutoCAD โต้ตอบกับเราหรือได้ปฏิบัติการไปแล้ว
หมายเลข (6) Status Bar: บริเวณแถบงานหรือ Status Bar จะประกอบด้วยค่าพิกัดหรือตำแหน่งของ
Crosshairs และปุ่มของโหมด (Mode) ต่างๆ
หมายเลข (7) Cross
hair/Cursor Cross hair เป็น Cursor ที่ใช้แสดงตำแหน่งบน Graphic Area เคลื่อนที่ตามการเคลื่อนที่ของเมาส์
เปรียบได้กับปลายปากกาเขียนแบบที่เขียนตามคำสั่ง และสามารถปรับขนาดได้
หมายเลข (8 ) UCS
icon :
ปกติจะอยู่มุมซ้ายด้านล่าง
จะบอกถึงทิศทางของแกน X และแนวแกน Y คือระบบโคออร์ดิเนตใช้งานปัจจุบัน
2.3 การเรียกใช้คำสั่ง
โปรดสมัครเพื่อติดตามblogนี้ หรือคลิกแถบ ท่านจะได้เห็นเนื้อหาทั้งหมด
จริงมีครบ11บทพร้อมแบบฝึกหัดและcaiสอนโปรดสมัครเพื่อติดตามblogผมจะเอามาลงเรื่อยๆครับ
ตอบลบขอบคุณคับ
ตอบลบ